โรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝายกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ทศพล พงษ์ต๊ะ
ณัฐพงศ์ รักงาม

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยเรื่อง การศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝายกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหัวฝาย ตาบลสันกลาง อาเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของชุมชนหัวฝายและการก่อเกิดโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย 2) ศึกษากระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝายต่อการสร้างความเข้มแข็งชุมชนวัดหัวฝายตาบลสันกลาง อาเภอพาน จังหวัดเชียงราย และ 3) ศึกษาผลสาเร็จของการเป็นชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนหัวฝาย ตาบลสันกลาง อาเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ
                ผลการศึกษา พบว่า บริบทของชุมชนด้านวิถีชีวิตมีลักษณะเกื้อกูลให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เจ้าคณะตาบลหัวฝายมีบทบาทสาคัญในการพัฒนาคนและพื้นที่โดยมีโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นแกนหลักในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ สมาชิกในชุมชนมีลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมที่เข้มแข็ง การพัฒนาชุมชนส่วนหนึ่งนั้นได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกเช่น งบประมาณ บุคลากร เป็นต้น ด้านกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝายต่อการสร้างความเข้มแข็งชุมชนนั้นพบว่ามีการวางแผนการดาเนินงานอย่างเป็นระบบเห็นได้จากแผนผังความคิดโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย มีการกาหนดโครงสร้างโดยแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนโดยแบ่งออกเป็น คณะกรรมการที่ปรึกษาและสนับสนุน คณะกรรมการนักเรียน และคณะครูผู้สอน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยทีมงาน 3 ส่วน คือ ทีมนา ทีมทา และทีมร่วม โดยมีการประชุมติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินผลการดาเนินงานและหาแนวทางแก้ไข ส่วนผลสาเร็จของการเป็นชุมชนเข้มแข็งที่เกิดจากกระบวนการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย พบว่า ผู้นาได้รับการยอมรับจากสมาชิกภายในชุมชนและภายนอกชุมชนอย่างเป็นวงกว้าง มีการวางแผนและกาหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบชัดเจน การทากิจกรรมของชุมชนเน้นการมีส่วนร่วม เป็นแหล่งเรียนรู้ในการศึกษาดูงาน มีกิจกรรมที่เน้นการพึ่งตนเอง และได้รับรางวัลในระดับประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2559.
โกวิทย์ พวงงาม. การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์จากัด, 2553.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์และคณะ. กลยุทธ์การสร้างองค์การคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมกมลการพิมพ์, 2546.
ไทยรัฐออนไลน์. (19 มีนาคม 2557). “ไทยจ่อเข้าสังคมผู้สูงอายุ'เต็มตัวปี 68 ล่าสุดกว่า 1 ล้านคนนอนติดเตียง” สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561 จาก https://www.thairath.co.th/ content/410946.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์, 2534.
ภูมิศักดิ์ สนามชัยสกุลและคณะ. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ ตาบลบ้านติ้ว อาเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2557.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร, 2544.
โสภณ โสภโณ. พระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคม: ศึกษาเปรียบเทียบบทบาทการพัฒนา
สังคมของเจาคณะแขวงในกรุงเทพมหานครกับเจาคณะตาบลในตางจังหวัด. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. ภาวะผู้นาแบบบริการ: แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัย. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์, 2557
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สานักนายกรัฐมนตรี, 2560.
Wood, John C. and Wood Micheal C. Henri Fayol: Critical Evaluations in Business and Management. Volume 2. New York: Routledge, 2002.