การพัฒนารูปแบบการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2

Main Article Content

วิเชียร เฮงอุดมทรัพย์ และคณะ

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 และเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างสาหรับการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย ผู้บริหาร พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 และผู้ใช้ไฟ จานวน 331 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้สาหรับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้สาหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างสาหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกได้แก่ ผู้บริหาร พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้ไฟ จานวน 15 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างสาหรับการสนทนากลุ่มประกอบด้วยผู้บริหาร ผู้นาชุมชน ผู้ใช้ไฟ และผู้เชี่ยวชาญ จานวน 12 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
               1) ด้านสภาพการณ์การบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลนั้น พบว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 มีการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลในระดับมากทั้ง 6 องค์ประกอบ ซึ่งได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักความรับผิดชอบ 5) หลักการมีส่วนร่วม และ 6) หลักความคุ้มค่า
               2) รูปแบบการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการกระจายอานาจ 5) หลักการมีส่วนร่วม 6) หลักความรับผิดชอบ 7) หลักความคุ้มค่า และ 8) หลักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ซึ่งรูปแบบการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 2 ที่ได้พัฒนาขึ้นได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนให้มีการนาไปใช้ในสถานการณ์จริงจากผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มทั้ง 12 ท่าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. วารสารรายงานประจาปี 2559. กรุงเทพมหานคร: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, 2559
ประพนธ์ จิตตะปุตตะ, “ธรรมาภิบาลและประสิทธิผลของคณะกรรมการบริหารรัฐวิสาหกิจในอุตสาหกรรมการบินพลเรือน”, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2555).
ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, 2543
วีระชัย ศิริพานิช. “องค์การบริหารส่วนตาบล: การพัฒนาระบบบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในภาคอีสาน”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. คณะวัฒนธรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2556.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561). กรุงเทพมหานคร: สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2552.
R. Dayanandan, “Good Governance Practice for Better Performance of Community Organizations – Myths and Realities!!”, Journal of Power, Politics & Governance, Vol. 1 No. 1: 10 – 26.
Wahe Duzzama, "Value of people's participation for good governance in developing countries", Transforming Government: People, Process and Policy, Vol. 4 Issue: 4: 386 - 402.
Ifiok Okon Ibanga. Using referendums as a tool of good governance in the developing world. Oregon: University of Oregon, 2007
Mohammad Abdul Salam. E-governance for good governance through public service delivery: an assessment of district e-service centres in Bangladesh. Bangladesh: BRAC University, 2013.
Dinka Tessema et.al., “An Assessment of the Challenges and Prospects of Good Urban Governance Practice in the Land Administration System: Case of Shambu Town, Oromia Region,Ethiopia”, Journal of Good Governance and Sustainable Development in Africa (JGGSDA), Vol. 3 No 3: 20 – 31.