ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ของพนักงานสถาบันการบินพลเรือน

Main Article Content

อิทธินันท์ ซอหะซัน

บทคัดย่อ

              การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสถาบันการบินพลเรือน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสถาบันการบินพลเรือน เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของพนักงานสถาบันการบินพลเรือน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสถาบันการบินพลเรือน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานสถาบันการบินพลเรือน จานวนทั้งสิ้น 94 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ใช้สถิติแบบพรรณนา โดยการวิเคราะห์แจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบค่าสถิติ t-test, F – test, One – Way ANOVA LSD และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson‘ s Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 60.6 อายุ 26-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.4 สถานภาพโสด คิดเป็นร้อยละ 58.5 ระดับการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 50 ระยะเวลาในการทางานในองค์กรนี้ 5-10 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.6 และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน10,000 - 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 36.2 และกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสถาบันการบินพลเรือน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่ระดับค่าเฉลี่ย 3.5 ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ และระยะเวลาในการทางานในองค์กรนี้แตกต่างกันมีผลต่อขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสถาบันการบินพลเรือนไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วยระดับการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างมีผลต่อขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสถาบันการบินพลเรือนแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 การปฏิบัติงานของพนักงานมีผลต่อขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสถาบันการบินพลเรือน ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 โดยความสัมพันธ์ทิศทางบวกในระดับต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลิยา ด่านทิพารักษ์. “แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลในศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งส่วนภูมิภาค สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์”. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2553.
ชาญเดช วีระกุล. “ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับขวัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสานักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 5 (จังหวัดอุบลราชธานี)”. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2553.
เนตรนภิส เลิศเดชานนท์. “ขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2”. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2554.
ประเสริฐ สุยอด. “ขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรและครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองสุรินทร์ อาเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์”. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 2551.
พัชรี คงดี. “ขวัญและกาลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสังกัดสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2556.
รมย์ชาลี สุวรรณชัยรักษ์. “ความพึงพอใจในการทางานของพนักงานธนาคารทหารไทย จากัด (มหาชน) จังหวัดลาปาง”. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎลาปาง. 2550
เรณู สีนิล. “การพัฒนาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2 กรณีศึกษา: โรงเรียนวัดลาดระโหง โรงเรียนวัดทาใหม่ โรงเรียนวัดศรีภวังค์”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 2552.