อัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

อนุพงษ์ ดาวทอง

บทคัดย่อ

               วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการและลักษณะพุทธศิลป์ในเชียงราย อัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมในจังหวัดเชียงรายและวิเคราะห์คุณค่าของอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมในจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า
               งานพุทธศิลป์ในจังหวัดเชียงรายมีพัฒนาการมาอย่างยาวนานโดยต่อสืบต่อจากงานพุทธศิลปกรรมล้านนาได้รับการผสมผสานงานศิลปะอย่างหลากหลายและได้รับอิทธิพลงานศิลปะต่างๆแต่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์ตามยุคตามสมัยดังที่ได้เห็นกันในอดีตจนถึงปัจจุบัน
               งานพุทธศิลป์ที่สาคัญของจังหวัดเชียงรายที่เห็นได้ชัดก็คือ งานพุทธศิลป์เมืองเชียงแสน โดยมีหลักฐานที่ปรากฏหลงเหลืออยู่หลายอย่าง เช่น งานประติมากรรมได้แก่ พระพุทธรูปเชียงแสน งานสถาปัตยกรรม ล้วนมีเอกลักษณ์เด่น โบสถ์ วิหาร อาคารก่ออิฐถือปูน วิหารสมัยเชียงแสนมีเอกลักษณ์ คือ “เป็นหลังคาที่แสดงโครงสร้าง” คือไม่มีฝ้าเพดาน สามารถมองเห็นเครื่องหลังคาได้ทุกชิ้น งานจิตรกรรม ช่วงยุคหลังพุทธศตวรรษที่ 25 จะพบงานจิตรกรรมภาพวิถีชีวิต ประเพณี ของทางภาคเหนือที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
คุณค่าอัตลักษณ์งานพุทธศิลปกรรมมีความสัมพันธ์หลากหลายด้านอาทิ เช่น คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านหลักธรรมคาสอน การนาหลักธรรมถ่ายทอดในการสรรค์สร้างผลงานพุทธศิลปกรรม คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านทางด้านประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่บอกเรื่องราวจากอดีตสู่ปัจจุบัน คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านทางด้านสุนทรีย์ งานพุทธศิลปกรรมแห่งความสวยงาม คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านทางด้านสังคม สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ คุณค่าอัตลักษณ์พุทธศิลปกรรมด้านทางด้านเศรษฐกิจทาหน้าที่ในส่วนสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปิ่น มาลากุล ม.ล., “การเปิดแสดงจิตกรรมฝาผนังในเทศกาลเข้าพรรรษา”, วารสารศิลปกร, 2502, หน้า 25
สิริวัฒน์ คาวันสา, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2534
อานาจ เย็นสบาย, ประวัติศาสตร์ศิลปกรรมร่วมสมัยรัตนโกสินทร์, ม.ป.ท.: ม.ป.ป