การพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว ของสารถีรถม้าในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

ปรียารัตน์ ศรีชัยวงค์
วัลจิลีน จันทรวิโรจน์

บทคัดย่อ

               การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวของสารถีรถม้าในจังหวัดลาปางตามวิถีพุทธ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพและองค์ความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวของสารถีรถม้าในจังหวัดลาปางตามวิถีพุทธ 2. เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาชุดคู่มือ “ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวของสารถีรถม้าในจังหวัดลาปางตามวิถีพุทธ” โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นผู้ประกอบสารถีรถม้าที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกของสมาคมรถม้าลาปาง ในเขตเทศบาลนครลาปางแบบเจาะจงจานวน 39 คน และเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview)
               ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวของสารถีรถม้าในจังหวัดลาปางตามวิถีพุทธ จากผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 สารถีรถม้ามีศักยภาพและองค์ความรู้ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวอยู่ในระดับ “ปานกลาง” และสารถีรถม้าที่จะประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างมีความสุขและประสบผลสาเร็จได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลที่ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักพุทธศาสนา และจากผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 แนวทางในการพัฒนาชุดคู่มือได้มีการประมวลรายละเอียดและเนื้อหา ครบถ้วนจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ประกอบด้วยคาศัพท์ สานวน และประโยคสนทนาภาษาอังกฤษตลอดจนคาอ่านภาษาไทยที่จัดทาจัดทาขึ้นในฉบับเต็มและฉบับพกพาและสารถีรถม้ามีเจตคติที่ดีต่อการใช้คู่มือภาษาอังกฤษเนื่องจากได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้บุคคล ชุมชนและสังคม เกิดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. ชมเมืองบนรถม้าลาปาง. 2559. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558, จากเว็ปไซต์ http://travel.kapook.com/view1902.html
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา. 2559. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2558.จากเว็ปไซต์ http://www.mua.go.th
จันทร์ โกศล, อมรรัตน์ วัฒนาธร, วารีรัตน์ แก้วอุไรและ อังคณา อ่อนธาน. 2556. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะจัดทาหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.15 (4), หน้า 19.
เจตน์จรรย์ อาจไธสง. การพัฒนาคู่มือภาษาชองไทย อังกฤษ เพื่อการสื่อสารการท่องเที่ยว. งานวิจัยคณะเทคโนโลยีสังคม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตะวันออก, 2554.
ประพาศน์ พฤทธิประภา. วิทยาการสอนคืออะไร.มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 7, (1), 2528. หน้า 67-71.
พจน์ พจนพาณิชย์กุล, การพัฒนาประสิทธิภาพในการทางานของบุคคล, 2556, (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558, จากเว็ปไซต์ https://sites.google.com/site/potarticle/
พชรวลี กนิษฐเสน. 2555. การวิจัยเรื่องความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษของคนขับรถม้าในจังหวัดลาปาง. งานวิจัยคณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎลาปาง.
สมพิศ สุขแสน. เทคนิคการทางานให้มีประสิทธิภาพ, 2556. (ออนไลน์), สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558, จากเว็ปไซต์ https://bongkotsakorn.wordpress.com/2013/06/06/เทคนิคการทางานให้ประสบความสาเร็จ
สัมภาษณ์
เกรียงศักดิ์ ใจมั่น. ผู้ประกอบการสารถีรถม้าจังหวัดลาปาง. สัมภาษณ์. เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558.
บุญมา ชุ่มแสง. ผู้ประกอบการสารถีรถม้าจังหวัดลาปาง. สัมภาษณ์. เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558.
วัฒนา ปราสาท. ผู้ประกอบการสารถีรถม้าจังหวัดลาปาง. สัมภาษณ์. เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558.
สุรีรัตน์ โอภานนท์. ผู้ประกอบการสารถีรถม้าจังหวัดลาปาง. สัมภาษณ์. เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558.