การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในสังกัดกลุ่มอัมพวา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม

Main Article Content

ณัฐชยา บำรุงเวช

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา
                ผลการวิจัย พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้านคือ 1. มีความพึงพอใจในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในด้านฉันทะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. มีความเพียรพยายาม ขยัน อดทน ไม่ทอดทิ้งไม่ท้อถอยในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านวิริยะโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3. มีความตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทาและทาสิ่งนั้นด้วยความคิดเอาจิตฝักใฝ่ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านจิตตะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและ 4. มีความหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในความสาเร็จในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านวิมังสาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
               การเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามเพศมีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประคุณภาพภายในสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ตามระดับการศึกษาระดับการศึกษาต่างกันโดยภาพรวมทุกด้าน พบว่ามีการประยุกต์ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .280 แนวทางการประยุกต์การใช้อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา มีการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในกระบวนการประกันคุณภาพในสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านการนาหลักการประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ไปใช้เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาควรคานึงถึงหลักอิทธิบาท 4 เมื่อนามาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของหน่วยงานองค์กรของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสาคัญ เนื่องจากผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ มีความแตกต่างกันทั้งด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิ สิ่งที่ทุกท่านคาดหวัง คือ การประกันคุณภาพการศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ที่ดีและมีมาตรฐาน คือ การนาไปบูรณาการใช้จริงในการบริหารงานและเรียนรู้ปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพเพื่อนาพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญก์วฬาภรณ์ กลิ่นนิ่มนวล. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสานักงานจังหวัดพิษณุโลก ตามหลักอิทธิบาท 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554
กระทรวงศึกษาธิการ. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาภายในสถานศึกษาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรอบและแนวการดาเนินงานเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.
. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2545.
. การประกันคุณภาพของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2542.
. การประกันคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2541.
. คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2546.
. แนวทางการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา: แนวทางการดาเนินงานของสถานศึกษาผู้รับการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศึกษา, 2543.
. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2545.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย.ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
________.อรรถกถาภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
________.อรรถกถาภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
________.ฎีกาภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, 2539.
วิชญาภา เมธีวรฉัตร. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักอิทธิบาท 4: กรณีศึกษาโรงเรียนคีรีวงศ์วิทยา จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554