แนวทางการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนแกะสลักไม้บ้านหลุก ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ ให้กับชุมชนแกะสลักไม้บ้านหลุก ตาบลนาครัว อาเภอแม่ทะ จังหวัดลาปาง เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนและเพื่อประชาสัมพันธ์เป็นช่องทางในการจาหน่ายสินค้าและศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนแกะสลักไม้บ้านหลุก เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวจานวน 200 คน ประชาชนในชุมชนบ้านหลุก จานวน 200 คน และผู้นาชุมชน สล่าแกะสลักไม้จานวน 10 คน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณและการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน การสัมภาษณ์กลุ่มของผู้นาชุมชนและสล่า นามาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนแกะสลักไม้บ้านหลุก
ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนแกะสลักไม้บ้านหลุก มีสภาพทั่วไปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ความรู้ ภูมิปัญญาการแกะสลักไม้ที่งดงามเหมาะที่จะเป็นที่จาหน่ายผลงาน สินค้าการแกะสลักไม้ที่มีคุณภาพและแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการแกะสลักไม้ เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน เพราะมีสิ่งแวดล้อมที่งดงามทั้งแม่น้าจาง วัดบ้านหลุก ลานแสดงสินค้าการแกะสลักไม้ ขัวไม้มุง และประชาชนในชุมชนมีความเป็นกันเอง มีความรู้ ความสามารถแต่ยังขาดทักษะในเรื่องการประชาสัมพันธ์และการตลาด
ชุมชนแกะสลักไม้บ้านหลุก ตาบลนาครัว อาเภอแม่ทะ จังหวัดลาปาง มีความพร้อมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ให้การท่องเที่ยวภายในชุมชนกลับมาคึกคักอีกครั้งแต่ควรมีการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ในการให้ความสาคัญของการท่องเที่ยวและผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวให้มีความน่าสนใจและดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวยังชุมชนแกะสลักไม้บ้านหลุกมากขึ้นในด้านความสะดวกในการเดินทางควรมีป้ายบอกทางชัดเจนตั้งแต่ในตัวเมืองลาปาง ตลอดจนถึงชุมชนแกะสลักไม้บ้านหลุกและการจัดสายไฟให้อยู่ในระดับที่ความสูงของรถทัวร์เข้าถึงได้ และควรพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวให้สามารถเชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ที่ใกล้เคียงอื่นๆ ได้
Article Details
References
การท่องเที่ยวจังหวัดลาปาง. ข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดลาปาง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://www.lampang.go.th./travel/data/placetour/maetha.htm,สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2559.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. บทวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดต่างประเทศ. จุลสารวิชา อิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย: กรุงเทพมหานคร, 2559.
หมู่บ้านแกะสลักไม้. ข้อมูลหมู่บ้านแกะสลักไม้ เทศบาลตาบลนาครัว อาแม่ทะ จังหวัดลาปาง.
(ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://banlooklampang.myreadyweb.com/article, สืบค้นเมื่อ 22
สิงหาคม 2559.
เทศบาลตาบลนาครัว. ข้อมูลทั่วไปตาบลนาครัว. (ออนไลน์). แหล่งที่มา:
http://www.nakrow.go.th/html/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1, สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559
บุญยศิริ บุญชู. ความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการชาวไทยต่อประสิทธิผลของสื่อ ประชาสัมพันธ์โบราณสถานเวียงกุมกาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.
วิรัช ลภิรัตนกุล. การประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชน การโฆษณา. สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย: กรุงเทพมหานคร, 2548.
Buhalis, D. Strategic ues of information technologies in the tourism industry.
Tourism Management.Essex : Pearson Education, 2000.
สัมภาษณ์
ผู้ใหญ่สมพงษ์ ใจจา, ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านหลุก ตาบลบ้านหลุก อาเภอแม่ทะ จังหวัดลาปาง