มาตรการเพิ่มศักยภาพของการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ในเขตชุมชนประมงจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก: กรณีศึกษา อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

Main Article Content

จุตินันท์ ขวัญเนต
อัศวิน แก้วพิทักษ์

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของแรงงานข้ามชาติเปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กลไกภาครัฐ เอกชนและชุมชน รวมถึงแนวทางเพิ่มศักยภาพในการบริหารแรงงานข้ามชาติในเขตจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก จะใช้วิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยสารวจในเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพทั้งเอกสารและสัมภาษณ์ ข้อค้นพบจากการศึกษา สามารถสรุปได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แรงงานข้ามชาติในเขตจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก ส่งผลกระทบที่แตกต่างกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองและสาธารณสุข ส่วนการศึกษาบทบาท กลไกเดิมทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชนโดยใช้การเปรียบเทียบระหว่างบทบาทที่เป็นอุดมคติในกฎหมาย (ideal role) กับบทบาทที่ปฏิบัติจริง (actual role) ก็จะพบว่า โรงพยาบาลของรัฐและผู้ประกอบการประมงในชุมชน มีบทบาทสอดคล้องต้องกันระหว่างสองบทบาท (commensurating role) ส่วนสมาคมประมงเอกชน และกองบังคับการตารวจน้า พบว่า บทบาทในอุดมคติตามกฎหมายนั้นขัดแย้งกับบทบาทที่ปฏิบัติจริง (conflicting role) และข้อค้นพบเกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการ แรงงานข้ามชาตินั้น ควรมี 10 แนวทางด้วยกัน คือ ควรจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติเป็นงานประจาทั้งปี ควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมในราคาที่เป็นธรรมในการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ เพิ่มบทลงโทษสถานหนักต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าแรงงานเถื่อน จัดทาศูนย์แรงงานข้ามชาติ ควรตั้งศูนย์รับเรื่องแรงงานร้องทุกข์ในชุมชนที่มีการจ้างแรงงาน เพิ่มบทลงโทษแก่บุคคลที่นาพาหรือผู้ให้ที่พักพิงแก่แรงงานข้ามชาติที่ลักลอบทางานผิดกฎหมาย แยกการบริหารจัดการด้านสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติออกจากพระราชบัญญัติประกันสังคม มีรางวัลแก่ผู้แจ้งเบาะแสซึ่งนาไปสู่การนาจับนายหน้าค้าแรงงานเถื่อน ควรเพิ่มการตรวจสอบและขยายผลการจับกุมขบวนการค้าแรงงานเถื่อนและให้แรงงานข้ามชาติจ่ายเงินประกันตนเองเพื่อป้องกันการเปลี่ยนงานบ่อย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสาหรับงานวิจัย. ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี, 2555.
. ตาราเรียบเรียงวิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี, 2559.
นิกร ฮะเจริญ. ความไม่เป็นธรรมทางชาติพันธุ์ในระบบทุนนิยมกับประสบการณ์ความเจ็บป่วยเป็นวัณโรคในแรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า : กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ สังคมศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554.
ประกาย กิจธิคุณ. การศึกษาการใช้แรงงานข้ามชาติในกิจการเกษตรที่สาคัญ. กรุงเทพมหานคร:
สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2546.
. การศึกษาผลกระทบของแรงงานข้ามชาติต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการภาคเกษตร:กรณีศึกษาเกษตรกรและผู้ประกอบการภาคเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ:สานักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2548.
ประเสริฐ เนินริมหนอง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, อัศวิน แก้วพิทักษ์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (24 กรกฎาคม 2557). ที่สมาคมประมงแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี.
ปรีดา รอดนวล. ชีวิตแรงงานข้ามชาติในชุมชนชนบทไทย: กรณีศึกษาแรงงานสัญชาติพม่าในชุมชนตาบลโคกขาม อาเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ชนบทศึกษาและการพัฒนา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.
เพ็ญชลิดา มหัทธนาภิวัฒน์ . ผลกระทบทางสังคมจากการนานโยบายแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายไปปฏิบัติ(ศึกษาเฉพาะกรณีพม่า ลาว และกัมพูชา). กรุงเทพมหานคร: กรมการจัดหางาน, 2545.
มนัส เจริญสิทธิ์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, อัศวิน แก้วพิทักษ์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (18 กรกฎาคม 2557). ที่โรงพยาบาลแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี.
สุคนธา จันทรุปราคากุล. ผลกระทบจากแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมประมงในจังหวัดสมุทรสาคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.
สานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมแรงงาน. การเคลื่อนย้ายแรงงานในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.2555.