พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วรเทพ เวียงแก

บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยในกับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ 3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยนอกกับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์ให้ดีขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคฤหัสถ์ 250 คน และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับพฤติกรรมสุขภาพนักศึกษาคฤหัสถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเรียงลาดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากสูงไปต่า ดังนี้ การพัฒนาทางจิตวิญญาณ (  =3.93) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ( =3.91) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( =3.86) โภชนาการ ( =3.81) การทากิจกรรมทางกาย( = 3.79) การจัดการความเครียด ( =3.87) พฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการความเครียด ข้อที่ว่า กินยาระงับประสาท หรือยานอนหลับ นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง แสดงว่า มีนักศึกษาบางส่วนอาจจะทานยานอนหลับบ้างเวลาเครียด


                2. นักศึกษาคฤหัสถ์มีปัจจัยภายในแตกต่างกันมีพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาคฤหัสถ์มีปัจจัยภายนอกแตกต่างกันมีพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสา คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยภายในทุกปัจจัยและปัจจัยภายนอกทุกปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาคฤหัสถ์อย่างมีนัยสา คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
                3. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ 1) ควรออกกาลังกายอย่างถูกวิธีและสม่าเสมอ 2) ทานอาหารที่มีประโยชน์และให้ครบ 5 หมู่ 3) พักผ่อนให้เพียงพอ 4) สร้างระเบียบวินัยในการใช้ชีวิตอย่างมีระบบทัง้ การกิน ดื่ม ตื่น นอน กิจกรรมต่างๆ 5) ปฏิบัติธรรม นัง่ สมาธิสม่า เสมอ
                4. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรแต่งตั้งกรรมการและมอบนโยบายให้นาไปสู่แผน โครงการ โดยให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การปฏิบัติธรรมเพื่อสุขภาพ การบริโภคเพื่อสุขภาพ หรือการออกกา ลงั กายเพ่อื สขุ ภาพและมกี ารประเมนิ ผลการดา เนินงานเป็นช่วงๆ และควรประกาศเกยี รตคิ ุณผู้ที่ดา เนินงานได้อย่างมีผลสัมฤทธิแ์ ละเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

งานทะเบียนและวัดผล. “เอกสารรายชื่อนักศึกษา”. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. 2558. (อัดสาเนา).
วลัยลักษณ์. มหาวิทยาลัย. ประมวลพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ตั้งแต่พุทธศักราช 2493-2537. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 2539.
สุชาติ โสมประยูร. สุขศึกษาภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา, 2542.
ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา (CARD) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. http://www.
elearning.msu.ac.th/opencourse/1202231/unit01/unit1_04.htm. (17 กุมภาพันธ์ 2559)