ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือ

Main Article Content

มงคล มานพกวี
พระมหาฐิติพงษ์ วรทสฺสี

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Method Research) เกี่ยวกับการศึกษา ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการณ์และปัญหาอุปสรรคของการบริหารจัดการงานทะเบียยและวัดผล ของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผลในเขตภาคเหนือ และ 3. เพื่อพัฒนากลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในเขตภาคเหนือ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสังเกตุแบบมีส่วนร่วม (Observations Participant) การใช้แบบสอบถามซึ่งได้ดาเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานฝ่ายทะเบียนและวัดผล จานวน 5 คน ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและวัดผล เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนและวัดผล และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิต เจ้าหน้าที่หรือพนักงานที่มีความเกี่ยวข้องกับงานด้านทะเบียนและวัดผล จานวน 113 คน
               ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือ ในด้านขั้นตอนการให้บริการ พบว่าโดยรวมระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีเนื่องจากในอดีตการจัดทาใบรับรองหรือใบรายงานผลการศึกษา ต้องใช้บุคลากรในหน่วยงานจัดพิมพ์ใบรับรอง หรือใบรายงานผลการศึกษา ความถูกต้อง และความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ และระยะเวลาในการจัดทาใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ปัจจุบัน ได้นาคอมพิวเตอร์มาใช้โดยมีระบบทะเบียนนักศึกษา คือสามารถเอาข้อมูลระเบียนประวัติที่ป้อนไว้ โดยกาหนดรูปแบบต่างๆ แล้วนามาใช้ เช่นโปรแกรมทาใบรับรอง และใบรายงานผลการศึกษาซึ่งทาให้สะดวกและรวดเร็ว โดยสามารถลดระยะเวลาการจัดทา และลดขั้นตอนการให้บริการให้สั้นลงได้
                2. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือ ในด้านสถานที่ พบว่า โดยรวมระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี เนื่องจากปัจจุบันงานทะเบียนและสถิตินิสิตได้พัฒนาระบบงานทะเบียนนักศึกษา มีการลงทะเบียนเรียนทางอินเตอร์เน็ต นิสิตสามารถเข้าระบบทะเบียนได้ที่บ้านหรือตามที่ต่างๆ จึงทาให้นิสิตส่วนมากไม่มาติดต่อที่งานทะเบียนโดยตรง จึงทาให้สถานที่ที่ให้บริการเพียงพอต่อการให้บริการนิสิต และงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือ ได้เข้าร่วมกิจกรรม 5 ส. จึงทาให้สถานที่ที่ให้บริการ มีความสะอาด เป็นระเบียบ
               3. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในเขตภาคเหนือ ในด้านบุคลากรที่ให้บริการ พบว่าโดยรวมระดับประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีเจ้าหน้าที่มีการแต่งกายสะอาด สุภาพ เรียบร้อย เจ้าหน้าที่มีความสุภาพ อ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส และเป็นกันเอง เต็มใจและยินดีให้บริการ ทั้งนี้เนื่องจาก บุคคลากรของงานทะเบียนทุกคนมีจิตสานึกที่ดีต่อพันธกิจในการให้บริการ คือ จะต้องให้บริการด้วยความมีมิตรไมตรี มีความเป็นกันเอง มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสิ่งที่บุคลากรทุกคนในงานทะเบียนและวัดผล จะต้องคานึงถึง คือ จะต้องพยายามทาให้นิสิตมีความพึงพอใจมากที่สุด หรือสามารถสนองตอบความต้องการของนิสิตมากที่สุด โดยยึดหลักการในการบริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง เสมอภาค สนองตอบความต้องการ และมีความพร้อมในการให้บริการ ไม่เลือกปฏิบัติในการให้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ระยะที่ 11 (2555-2559). สานักงานวิทยาเขตแพร่ 9