ศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ ที่มีอิทธิพลต่องานพุทธศิลป์ล้านนา

Main Article Content

ธีระพงษ์ จาตุมา

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทาการศึกษาคติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ที่มีอิทธิพลต่องานพุทธศิลป์ล้านนา มีจุดประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาและคติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ 2. เพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบงานพุทธศิลป์ล้านนา 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์คติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ที่มีอิทธิพลต่องานพุทธศิลป์ล้านนา โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก คัมภีร์ และหนังสือหรือตาราอื่นๆ รวมไปถึงค้นคว้าข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องของป่าหิมพานต์ ตลอดจนการสอบถามจากผู้รู้ในเชิงวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิในสายงานพุทธศิลปกรรมและสายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนาเสนอที่มาของคติความเชื่อและอิทธิพลของป่าหิมพานต์ที่ส่งผลต่อการสร้างงานพุทธศิลป์ในดินแดนล้านนา เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและการปฏิบัติพัฒนาในเชิงอนุรักษ์ต่อไป
                ผลของการศึกษา พบว่า คติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ หรือสัตว์พิสดารนั้นมีกันหลายชนชาติและความคิดนั้นอาจมาพ้องกันเข้าโดยบังเอิญ หรือให้อิทธิพลกันในทางความคิด แต่ลักษณะฝีมือทางช่างและศิลปะการตกแต่งแปลกกันออกไป มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่ยุคอียิปต์ มีเทพรูปร่างเป็นมนุษย์หัวเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ชนชาติกรีกในยุคต่อมาก็ปรากฎสัตว์พิสดารในตานาน กรีกเป็นชนชาติแรกที่เชื่อมระหว่างยุโรปกับเอเชียให้เดินทางไปมาถึงกันได้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดความเชื่อในด้านต่างๆ ความเชื่อเรื่องของสัตว์พิสดารจึงแพร่ขยายเข้ามาในเอเชีย ในส่วนของประเทศไทยเรานั้นความเชื่อเรื่องของสัตว์ประหลาดทั้งหลายนั้นมาพร้อมๆกับการเข้ามาของพระพุทธศาสนาจากอินเดีย หลักฐานที่ชัดเจนที่กล่าวถึงสัตว์หิมพานต์คือไตรภูมิกถา จักรวาลทีปนี เป็นต้น
                คติความเชื่อเรื่องป่าหิมพานต์ส่งอิทธิพลต่อการประดับตกแต่งศาสนสถานด้วยเหล่าสัตว์หิมพานต์ เพื่อเสริมแนวคิดการจาลองวัดให้เป็นดังจักรวาลให้มีความสมบูรณ์ และด้วยเชื่อว่าสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์วิเศษ มีอานาจ พละกาลังมาก สามารถปกป้องคุ้มครองอาคารศาสนสถานและผู้ที่เคารพนับถือให้รอดพ้นจากภยันตรายต่างๆได้ ในอีกด้านหนึ่งเพื่อให้เกิดความสวยงามตระการตา ช่วยสร้างจินตภาพถึงดินแดนสรวงสวรรค์ ช่วยน้อมนาผู้คนให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใส ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม สั่งสมบุญบารมีเพื่อเป็นเครื่องช่วยนาทางให้ไปเกิดในภพภูมิที่สูงขึ้นหรือหลุดพ้นจากวัฏสงสารอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือพระนิพพาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุมศรี มหาสันทนะ. พุทธประวัติจากจิตรกรรมฝาผนังไทย. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เอเชียบุ๊คส์, มปป.
พิษณุศุภ (นามแฝง). ปริศนาแห่งหิมพานต์. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์อมรินทร์, 2551.
พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ. ประวัติศาสตร์สากล เล่ม 1. พระนคร: เสริมวิทย์บรรณาคาร, 2514.
ส.พลายน้อย. สัตว์หิมพานต์. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์พิมพ์คา, 2552.
ยิ่งยศ วงค์อามาตย์. มักกะลีผล ศักดิ์สิทธ์แห่งพุทธการจากหิมพานต์โภคทรัพย์. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์บ้านสยาม, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.
วรลัญจก์บุณยสุรัตน์. วิหารล้านนา. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เมืองโบราณ, 2544.
เศรษฐมันตร์กาญจนกุล. เส้นสายลายไทย เงือก กินรี มักกะลีผล. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เศรษฐศิลป์, 2551.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์: พัฒนาการของงานช่าง และแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน.กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, 2556.
ศ.สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ:หริภุญชัย–ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เมืองโบราณ,2538.
สุวัฒน์แสนขัติ. จิตรกรรมไทย พุทธศิลป์. กรุงเทพมหานคร: อมรเลิศกรุ๊ป, 2545.
สุรพล ดาริห์กุล. แผ่นดินล้านนา. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เมืองโบราณ, 2545.
ม.ล.สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์. เที่ยววัดเที่ยววาชมปูนปั้นล้านนา. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์สายธารา,2545.
ม.จ.สุภัทรดิศดิศกุล. ประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียงอินเดีย,ลังกา,ชวา,จาม,ขอม,พม่า,ลาว.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มติชน, 2556.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศ.มจ. ศิลปะในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : มติชน, 2550.
สิริวัฒน์ คาวันสา. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2534.
สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. โครงการข้อสนเทศล้านนาคดีศึกษา : โครงการศูนย์ส่งเสริศิลปวัฒนธรรม: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2529.
สงวน รอดสุข. พุทธศิลป์สุโขทัย. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2533.
เสนอ นิลเดช. ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537.
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์. วาดรูป วาดชีวิต. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ จากัด(มหาชน), 2548.
อภัสรา พิทักษ์วงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลังกับความเชื่อใน พระพุทธศาสนาของประชาชนในอาเภอวังน้อย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2539.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และเดวิด วัยอาจ (ปริวัติ). ตานานพื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์มบุคส์, 2543.
ฮันส์เพนธ์. คาจารึกที่ฐานพระพุทธรูปนครเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สานักนายกรัฐมนตรี, 2519.
ฮันส์เพนธ์. ความเป็นมาของล้านนาไทย ในล้านนาไทยอนุสรณ์พระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุเสาวรีย์สามกษัตริย์ เชียงใหม่, 2526.