การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและการพัฒนาตนเองตามหลักมงคลสูตร ที่ปรากฏในสุภาษิตพระร่วง

Main Article Content

สุนทร สุขทรัพย์ทวีผล และคณะ

บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักปฏิบัติในการพัฒนาตนเองตามหลักมงคลสูตร 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาตนเองตามหลักคาสอนในสุภาษิตพระร่วง และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์หลักปฏิบัติการพัฒนาชีวิตตามหลักมงคลสูตรกับหลักคาสอนที่ปรากฏในสุภาษิตพระร่วง ผลการศึกษาพบว่า
                มงคลสูตรเป็นหลักการพัฒนาตนเอง มีองค์ธรรม 38 ประการ เป็นระบบการพัฒนาตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูงสุด คือ พระนิพพาน โดยสามารถจาแนกตามลักษณะของการพัฒนาตนเองออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นพื้นฐาน 18 องค์ธรรม ขั้นกลาง 12 องค์ธรรม และขั้นสูง 8 องค์ธรรม ส่วนสุภาษิตพระร่วงสามารถจาแนกตามลักษณะของการพัฒนาตนเองออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) ด้านการมีสัมพันธไมตรี 2) ด้านการใช้ชีวิต 3) ด้านการประกอบกิจการ 4) ด้านพฤติกรรม 5) ด้านองค์ความรู้ และ 6) ด้านจิตใจ ในความสัมพันธ์ระหว่างมงคลสูตรกับสุภาษิตพระร่วง พบว่ามีสอดคล้องกันในแนวทางของการพัฒนาตนเอง มีคาสอนในสุภาษิตพระร่วง จานวน 129 บทที่สัมพันธ์กับหลักมงคลสูตร แต่มี 16 บทที่ไม่มีความสอดคล้องกันเพราะเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นความเชื่อท้องถิ่น ในส่วนที่แตกต่างกันคือ เป้าหมายและวิธีการนาเสนอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์. กวีโวหาร โบราณคดี. พระนคร: สานักพิมพ์ก้าวหน้า, 2513
โชษิตา มณีใส. “สุภาษิตพระร่วง: การศึกษาแง่ประวัติศาสตร์”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปี
ที่ 3 ฉบับที่ 2: 129-146.
ดนัย เทียนพุฒ. กลยุทธ์การพัฒนาคน: สิ่งท้าทายความสาเร็จของธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2538.
นิยะดา เหล่าสุนทร. พินิจวรรณกรรม รวมบทความวิชาการด้านวรรณคดีและภาษา. กรุงเทพมหานคร:
แม่คาผาง, 2535.
ปิ่น มุทุกันต์. มงคลชีวิต ภาค 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามงกุฎราชวิทยาลัย, 2535.
เปาวลี วิมูลชาติ. “การศึกษาควรรับรู้ความสามารถของตนเองและความต้องการพัฒนาตนเองของข้าราชการ
กรมการทหารสื่อสาร”. การวิจัยส่วนบุคคล. คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2549.
เปลื้อง ณ นคร. “จากสุภาษิตไทยเดิมมารวมรวบเป็นสุภาษิตพระร่วง”. ใน พ่อขุนรามคาแหงไม่ได้แต่ง
สุภาษิตพระร่วง. กรุงเทพมหานคร: ศิลปวัฒนธรรม, 2529.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2541.