แนวทางการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5

Main Article Content

พันตำรวจโทจักรพงศ์ วงศ์พิทักษ์กุล

บทคัดย่อ

               การศึกษาเรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามหลักจริยธรรม ของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ระดับจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค 5 และเพื่อศึกษาแนวทางเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค 5 ตามประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553. 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านจริยธรรมต่อตนเอง 2) ด้านจริยธรรมต่อประชาชน 3) ด้านจริยธรรมต่อกฎหมาย และ 4) ด้านจริยธรรมต่อสังคม ประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนายสิบตำรวจ ปี 2558 รุ่นที่ 2 จำนวน 154 คน


              จากการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธร ภาค 5 โดยรวมและรายด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านจริยธรรมต่อประชาชน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 รองลงมาคือ ด้านจริยธรรมต่อตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และด้านจริยธรรมต่อกฎหมาย ด้านจริยธรรมต่อสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 เท่ากัน ตามลำดับ


              ข้อเสนอแนะจากการวิจับ พบว่า ควรปลูกฝังนักเรียนนายสิบตำรวจให้มีความภาคภูมิใจให้มีจิตสำนึก และมีจรรยาบรรณในอาชีพ ปลูกฝังแนวคิด และการพัฒนาการนำแนวคิดด้านจริยธรรมของนักเรียนนายสิบตำรวจไปปฏิบัติได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ควรปลูกฝังให้นักเรียนนายสิบตำรวจให้มองประชาชนเป็นศูนย์กลาง บริการประชาชนด้วยความเต็มใจไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นผู้เหนือกว่าประชาชน สร้างความจิตสำนึกในการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนควรให้เกียรติซึ่งกัน เคารพสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน สร้างความตระหนักในการใช้กฎหมายอย่างถูกต้องไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ และใช้กฎหมายกับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน และควรปลูกฝั่งจิตสาธารณะให้แก่นักเรียนนายสิบตำรวจ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของตำรวจให้มีความน่าเชื่อถือในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประภาพรรณ เส็งวงค์. การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : อี.เค.บุ๊คส์, 2551.
ปิยะรัตน์ ทรัพย์มามูล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อจริยธรรมของข้าราชการตำรวจ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน
ตำรวจภูธรภาค 5. การค้นคว้าอิสระ, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
2555.
ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5. แผนปฏิบัติราชการศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2558, 2558.
สรรเสริญ อินทรัตน์ และพวก. จริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2552.
สุรศักดิ์ มีเสาเรือน. จริยธรรมของข้าราชการตำรวจในอำเภอเมืองเชียงใหม่ตามโครงสร้างจริยธรรม
ตำรวจและวิธีการเสริมสร้างจริยธรรม. การค้นคว้าอิสระ, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.
ทนายคลายทุกข์. การร้องเรียนตำรวจ/การดำเนินคดีวินัย/พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา
: http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=4415 [16 กุมภาพันธ์ 2558]
Cronbach, L.J. Essentials of psychological testing. 5th ed. (New York : Harper & Row,1990). pp.
202-204.