การพัฒนารูปแบบพฤติกรรมเชิงพุทธของครอบครัวในสังคมไทย

Main Article Content

อานุรักษ์ สาแก้ว

บทคัดย่อ

               การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบพฤติกรรมเชิงพุทธของครอบครัวในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์คือ 1.) เพื่อศึกษาครอบครัวต้นแบบของพฤติกรรมเชิงพุทธในสังคมไทย 2.) เพื่อพัฒนารูปแบบพฤติกรรมเชิงพุทธของครอบครัวในสังคมไทย 3.)เพื่อวิเคราะห์ผลการพัฒนารูปแบบพฤติกรรมเชิงพุทธของครอบครัวในสังคมไทย โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็น ครอบครัวตัวอย่างที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากองค์กรต่างๆ ในแต่ละภาคแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview)


               ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนารูปแบบพฤติกรรมเชิงพุทธของครอบครัวในสังคมไทย จากผลการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 บุคคลหรือครอบครัวที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขหรือประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้ใช้ชีวิตแบบครองเรือนที่ดี ที่ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรมพุทธศาสนาจะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จากผลการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 การพัฒนารูปแบบพฤติกรรมเชิงพุทธของครอบครัวในสังคมไทยพบว่าบุคคลหรือครอบครัวที่มีการการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตจะสามารถแก้ไข และเยียวยาข้อผิดพลาดในดำเนินชีวิตได้ดี ผลการศึกษาวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 วิเคราะห์ผลการพัฒนารูปแบบพฤติกรรมเชิงพุทธของครอบครัวในสังคมไทยขอเสนอแนะว่ารูปแบบการพัฒนารูปแบบพฤติกรรมเชิงพุทธของครอบครัวในสังคมไทยโดยการยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้บุคคล ชุมชน และสังคม เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คัดนางค์มณีศรีและธีระพรอุวรรณโณ. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและพฤติกรรมทาง
สังคมของเยาวชนไทย. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2546.
ผกา สัตยธรรม. สุขภาพจิตเด็ก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2531.
รายงานสถานการณ์เด็กในประเทศไทย พ.ศ. 2548 และ 2554 สำนักสถิติแห่งชาติ, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_83.pdf. [29 มีนาคม 2560].
วัลนิกา ฉลากบาง. จิตวิทยาและการแนะแนวเด็กประถมศึกษา. สกลนคร : ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะ
แนว คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2535.
สมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทยและสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล. การศึกษาและสำรวจสถานการณ์สุขภาวะครอบครัวไทย ปี พ.ศ. 2552 –2554.กรุงเทพมหานคร. 2555.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากรและเคหะ 2553 ทั่วราชอาณาจักร. (กรุงเทพมหานคร, ภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
www.nso.go.th/popcensus. [29 พฤศจิกายน 2560].
สุธรรม นันทมงคลชัย, ศิริกุล อิศรานุรักษ์, ดวงพร แก้วศิริและสายใจ โพธิศัพท์สุข. ภาวะวิกฤตในครอบครัว
กับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาการเด็กปฐมวัย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา ปีที 3 ฉบับที่ 1. 2548.
สุภาพรรณ โคตรจรัส และชุมพร ยงกิตติกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและพฤติกรรมส่วนบุคคลของวัยรุ่นไทย. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2545.