พุทธศิลป์กับการจัดทำฐานข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่น ด้านพระนักสวดเบิก และพระนักเทศน์มหาชาติ ของจังหวัดลำปาง

Main Article Content

เกศรา สว่างวงศ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นกรณีพระ นักสวดเบิก และพระนักเทศน์มหาชาติในจังหวัดลำปาง 2) เพื่อให้บริการข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นกรณีพระนักสวดเบิก และพระนักเทศน์มหาชาติในจังหวัดลำปางแก่ผู้ที่มีความสนใจศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงสำรวจ  (Survey Research) ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยพระภิกษุสามเณรที่มีความสามารถด้านการสวดเบิก จำนวน  50 รูป การเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก จำนวน 50  รูป และจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัว ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นพระภิกษุและสามเณร จำนวน 107 รูป โดยมีสถานะเป็นพระสงฆ์ จำนวน 89 รูป และสามเณร จำนวน 18 รูป จำนวนปราชญ์ท้องถิ่น ได้แก่ อำเภอเมืองลำปาง จำนวน 27 รูป อำเภอห้างฉัตร จำนวน 25 รูป  อำเภอเกาะคา จำนวน 14 รูป  อำเภอแม่ทะ จำนวน 13 รูป อำเภอสบปราบ จำนวน 11 รูป  อำเภอแจ้ห่ม จำนวน 7 รูป อำเภอวังเหนือ จำนวน 6 รูป อำเภอเถิน จำนวน 6 รูป อำเภองาว จำนวน 2 รูป อำเภอแม่พริก จำนวน 1 รูป อำเภอเมืองปาน จำนวน 1 รูป ส่วนอำเภอแม่เมาะ และอำเภอเสริมงาม ไม่ได้รับการส่งกลับข้อมูล ช่วงอายุของนักปราชญ์ท้องถิ่น ได้แก่ ต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 16 รูป อายุ 20 - 30 ปี จำนวน 23 รูป อายุ 31 - 40 ปี จำนวน 12 รูป อายุ 41 - 50 ปี จำนวน 18 รูป อายุ 51 - 60 ปี จำนวน 24 รูป อายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 14 รูป จำนวนพรรษาของนักปราชญ์ท้องถิ่น ได้แก่ 5 - 10 พรรษา จำนวน 35 รูป 11 - 20 พรรษา จำนวน 16 รูป 21 - 30 พรรษา จำนวน 25 รูป  มากกว่า 30 พรรษา จำนวน 16 รูป เป็นสามเณรที่ยังไม่นับพรรษา จำนวน 15 รูป การศึกษาแผนกธรรมของนักปราชญ์ท้องถิ่น ได้แก่ นักธรรมชั้นตรี จำนวน 9 รูป นักธรรมชั้นโท จำนวน 7 รูป และนักธรรมชั้นเอก จำนวน 88 รูป แผนกบาลีของนักปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 19 รูป ได้แก่ ประโยค 1 – 2 จำนวน 10 รูป เปรียญธรรม 3 จำนวน 1 รูป เปรียญธรรม 4 จำนวน 6 รูป เปรียญธรรม 6 จำนวน 2 รูป พระนักสวดเบิก จำนวน 65 รูป พระนักเทศน์มหาชาติ จำนวน 14 รูป  นักปราชญ์ท้องถิ่นที่มีความสามารถเป็นทั้งพระนักสวดเบิกและพระนักเทศน์มหาชาติเวชสันดรชาดก จำนวน 19 รูป ได้ให้บริการข้อมูลปราชญ์ท้องถิ่นกรณีพระนักสวดเบิก และพระนักเทศน์มหาชาติในจังหวัดลำปางแก่ผู้ที่มีความสนใจศึกษาบนเว็ปไซด์ของวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง (http://www.mculampang.com)


     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พงศ์กร จันทราช. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวัดในจังหวัดเชียงใหม่ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 2556.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด, 2547.
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ฟู อตฺตสิโว ป.ธ.6). มหาชาติภาคพายัพ. เชียงใหม่ : มรดกล้านนา, 2551.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. การจัดการเรียนรู้พุทธศิลป์ . [ออนไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.mcukk.com.
รัตนาภรณ์ กาศโอสถ และปรัชญนันท์ นิลสุข. รังสิตสารสนเทศ ฉบับที่ 1 ปีที่ 15 (มกราคม – มิถุนายน 2552).
รวมพล บุญตัน. “ทำนองสวดเบิกในประเพณียี่เป็งจังหวัดลำปาง”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรม
หาบัณฑิต. สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549.