คุณค่าทางสังคมผ่านจิตรกรรมฝาผนังพระอารามหลวงในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าทางสังคมผ่านจิตรกรรมฝาผนังพระอารามหลวงในจังหวัดลำปางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตรกรรมฝาผนังของพระอารามหลวงในจังหวัดลำปาง คุณค่าทางสังคมสำคัญผ่านจิตรกรรมฝาผนังของพระอารามหลวงในจังหวัดลำปางและวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏผ่านจิตรกรรมฝาผนังของพระอารามหลวงในจังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เน้นการศึกษาค้นคว้าคัมภีร์พระพุทธศาสนา และทางสังคมศาสตร์ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา และมีความเชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์ ผู้วิจัยได้เรียบเรียงในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ พบว่า จิตรกรรม ฝาผนังของพระอารามหลวงในจังหวัดลำปางโดยเฉพาะวักบุญวาทย์วิหาร เกี่ยวกับพุทธประวัติ พระเวสสันดรชาดก รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสมัยนั้น เช่นเดียวกับภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งเผยแพร่เกี่ยวกับพระเวสสันดร รวมถึงภาพนรกและสวรรค์ กฎแห่งกรรมที่เกิดขึ้นเป็นสัจธรรมของมนุษย์ รวมถึงภาพจิตรกรรมวัดเจดีย์ซาวหลวง ที่กล่าวถึงตำนานวัดเจดีย์ซาว เรื่องราวภาพพระอรหันต์ 2 องค์ มอบเกศาธาตุให้แก่พระยา มิลินทร์ ในการเป็นสถานที่บำเพ็ญสมณะธรรม และวัดจองคำซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่มีเอกลักษณ์ มีความเก่าแก่มีพุทธศิลป์ที่เด่นชัด คือ วิหารสีทอง (พระวิหารชัยภูมิ) มีซุ้มประตูสีทองสลักลวดลายสวยงาม สถาปัตยกรรมวัดวาอารามไม่ว่าจะเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังหรือแม้แต่โบสถ์ วิหาร ศิลปะต่างๆ ที่สร้างขึ้นเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงประเพณี คติความเชื่อและเอกลักษณ์ของชาติไทย การออกแบบอย่างวิจิตรงดงามก็เพื่อเป็นการเชิดชูพระพุทธศาสนา ถ่ายทอดวิถีชีวิตชุมชน วัฒนธรรมประเพณี และหลักธรรมต่างๆ เช่น อริยสัจ 4, การให้ทาน, หลักทิศทั้ง 6, อิทธิบาท 4 เป็นต้น ทำให้ผู้พบเห็นมีความศรัทธาที่จะบำเพ็ญบารมีใส่ใจในกุศลความดีต่าง ๆ ดำเนินวิถีชีวิตโดยการ เว้นชั่ว ทำดี ทำใจให้ปราศจากอกุศล ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนานั่นเอง
Article Details
References
พระมหาอำพล บุดดาสาร. จิตรกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร. 2546.
พระมหาอำพล บุดดาสาร. “การศึกษาวิเคราะห์พุทธปรัชญาและพุทธศิลป์ จากภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องบาลีชาดกวัดเครือวัลย์วรวิหาร”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศิลปะศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2546.
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. “คติความเชื่อเรื่องมหาชาติชาดก การเปลี่ยนแปลงและการสืบเนื่องสะท้อนจากจิตรกรรมฝาผนัง กรณีศึกษาเฉพาะภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดสุวรรณาราม คลองบางกอกน้อย”. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชาวิชามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2532.