กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงกับการยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และการยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมในการยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อบรรยายคุณลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา ประกอบด้วย จำนวนความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งใช้วิธีการสนทนากลุ่ม การสังเกตภาคสนามของผู้วิจัยและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจชุมชนประเภทอาหาร มีระดับความรู้ในภาพเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง การยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยมีแนวทางการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมในการยอมรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คือ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไปยังสมาชิกของกลุ่ม ผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม เน้นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าในการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชนเป็นพื้นฐานศักยภาพของกลุ่ม มุ่งเน้นการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรก เมื่อเหลือพอจากการบริโภคแล้วจึงคำนึงถึงการผลิตเพื่อการค้าเป็นอันดับรองลงมาและให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงและการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้
Article Details
References
http://www.moac.go.th/builder/aid/articleupdate.php?id=86. [สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2558].
ณัฏฐินี ทองดี และคณะ. การพัฒนาและถ่ายทอดความสามารถทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนด้าน
การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นฐานของความพอเพียงของ
หมู่บ้านสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของจังหวัดนครราชสีมา. รายงานวิจัย
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2552.
ดาราวรรณ พรหมกัลป์. ผลการดำเนินงาน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา : หมู่บ้านเศรษฐกิจ
พอเพียงตัวอย่าง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.2551.
ธนาวุฒิ พิมพ์กิ และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจ
ชุมชนในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ฉบับที่ 1 ปีที่ 10 (มกราคม-เมษายน 2557). หน้า 1-21.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. การมีส่วนร่วม หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร :
ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2547.
บุญสม วราเอกศิริ. หลักและวิธีการส่งเสริมการเกษตร. พิมพ์ครั้งที่ 4. (เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้).2539.
ปิยะวัน เพชรหมี. ผลสัมฤทธิ์การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขตพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1(มกราคม-มิถุนายน 2557) หน้า 1-21.
พระมหาชนะพงษ์พันธ์ สีสังข์. การศึกษา สภาพและปัญหาของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
ในการบริหารวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2547.
มูลนิธิพระดาบส. คำพ่อสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงเทพ. 2551.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการและ การบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม. 2548.
วุฒิกร ปาจุวัง. ผลการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนอำเภอเมืองปาน. หัวหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองปาน. สัมภาษณ์ 22 พฤศจิกายน 2557.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรุ้. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2549.
สุวกิจ ศรีปัดถา. การประยุกต์หลักการ จัดการธุรกิจ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจ
ชุมชน. วารสารบัณฑิตศึกษา. ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 (สิงหาคม-ตุลาคม 2549) หน้า 43-53.
สันติ พรมขันธ์. สภาพและปัญหาการดำเนินงานโครงการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ในโรงเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาสถาบันราชภัฏเลย. 2546.
สัญญา จารุจินดา. แนวทางการบริหารจัดการในการน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การศึกษาอิสระ. ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2551.