การบริหารงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน ขยายโอกาส อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ถนอมศักดิ์ หลีทำ

บทคัดย่อ

               บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติงานด้านการบริหารงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนจำแนกตาม เพศ อายุทำงาน และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และF-test (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านงานบุคคล ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านงานวิชาการ 2) ครูผู้สอนในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีเพศ อายุการทำงาน และระดับการศึกษาต่างกัน มีปฏิบัติงานด้านการบริหารงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. “รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 2555.
มงคล อินทรโชติ. “การบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2552.
ธนธรรม มีทอง. “การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านร่องแซง”. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.
วีระ ปั่นทรัพย์. “การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม อำเภอสมุทรสงคราม”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.