มาตรการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

Main Article Content

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของภาคส่วนต่างๆ รวมถึงศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและความมั่นคง ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขและศักยภาพในการดำเนินงานตามนโยบายโครงการนำร่องพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ในเขตอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยสำรวจในเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพทั้งเอกสารและสัมภาษณ์ ข้อค้นพบจากการศึกษา สามารถสรุปได้ว่า มีความก้าวหน้าในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (economic infrastructure) เป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างของภาคส่วนต่างๆมีความพึงพอใจค่อนข้างมากในเนื้อหานโยบายและกระบวนการนโยบายของโครงการนำร่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ นอกจากนี้ ยังมีความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการดำเนินนโยบายโครงการนำร่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการศึกษาปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขและศักยภาพในการดำเนินนโยบาย สามารถสรุปได้ว่า ปัญหาการสื่อสารและการสร้างวาทกรรมเพื่อขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษควรมีการสื่อสารสองทางและสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นภายใต้กลไกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ที่มีสำนักงานพัฒนาเขตเศรษฐกิจตราดเป็นเวทีกลาง ปัญหาการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ควรเน้นการมีส่วนร่วมแบบพบกันครึ่งทาง (two-ways process) ระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น ปัญหาความไม่พร้อมและความล่าช้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ควรเร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้พร้อมต่อการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแผนที่ได้วางไว้ ปัญหาการพัฒนาการท่องเที่ยว ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบุกรุกชายหาดสาธารณะของภาคธุรกิจเอกชนอย่างจริงจัง นอกจากนี้ควรใช้บอเดอร์พาสแทนพาสปอตในการเดินทางท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศ และปัญหาการพัฒนาศูนย์กลางโลจิสติกส์ ควรให้ความสำคัญต่อการขนส่งทางบกที่เชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคกับกัมพูชา แทนที่เส้นทางขนส่งทางน้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขต
พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://www.thaigov.go.th/th/news1/item/84757. [11 สิงหาคม 2557].
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. การศึกษาความเหมาะสมโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตราด .ม.ป.ท. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://www.acmecsthai.org/web/16.php?id=19883. ม.ป.ป..
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี. 2555.
. ตำราเรียบเรียงปฏิบัติการวิจัยทางสังคม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี. 2559.
ชิติพัทธ์ วังยาว . ผลกระทบจากการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัด
เชียงราย.วิทยานิพนธ์ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น : วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2551.
ธนิต โสรัตน์, การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.acmecsthai.org/web/16.php?id=19883. [11 สิงหาคม 2557].
นุศรา ตัณลาพุฒ. ศักยภาพในการจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของจังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์ ร.ม. การเมืองและการปกครอง.เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2548.
ศุภชัย วรรณเลิศสกุล. เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน : โอกาสและอุปสรรคสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2550.
สุขสมร แสงจันทร์. การพัฒนาชายแดน การอพยพโยกย้ายและการปรับตัวในเขตเศรษฐกิจพิเศษ:กรณีศึกษาหมู่บ้านกว๊าน เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การพัฒนาอย่างยั่งยืน), เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2557.