การเปรียบเทียบการจัดการการศึกษาของพระสงฆ์ในเชียงตุง (พม่า) กับคณะสงฆ์ประเทศไทย

Main Article Content

พระมหานิกร ฐานุตฺตโร
อนุวัต กระสังข์

บทคัดย่อ

                ปัจจุบันการศึกษาของคณะสงฆ์เมืองเชียงตุงเริ่มต้นจากการเรียนการสอนที่มีอยู่สองลักษณะคือ การเรียนในระดับโรงเรียนที่รัฐบาลพม่าจัดให้ คือ “ระบบต่าน” หรือชั้นการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่ 1-10 เป็นลักษณะการศึกษาภาคบังคับของรัฐบาล แต่ไม่บังคับประชาชนให้เรียนด้วยประกอบกับคนกลุ่มไทไม่นิยมเรียนเพราะการเรียนในระบบการศึกษาดังกล่าวใช้ภาษาพม่าในการเรียนการสอน ซึ่งในโรงเรียนดังกล่าวมีการสอนวิชาภาพม่าซึ่งมีหลักสูตรมาจากส่วนการศึกษากลางของพม่า แต่การเรียนในลักษณะดังกล่าว สถานะความเป็นพระสงฆ์สามารถเรียนได้ถึงแค่ต่าน 5 เทียบเท่ากับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของระบบการศึกษาในประเทศไทย ในลักษณะที่สองเป็นการเรียนการสอนระดับชั้นนักธรรมนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 เป็นต้นมา โดยมีสำนักเรียนใหญ่อยู่ที่วัดราชฐานหลวงหัวข่วง เมืองเชียงตุง ถึงแม้จะมีการจัดระบบการศึกษาดูเหมือนจะมีระบบก็ตามที ด้วยการศึกษาของเมืองเชียงตุงหรือพม่ามิได้ระบุชัดเจนถึงนโยบายของการศึกษาภาคบังคับที่กำหนดให้ประชาชนหรือพระสงฆ์ได้เล่าเรียนแค่ไหนอย่างไร จึงทำให้สังคมมองพม่าหรือเชียงตุงว่า “เป็นระบบการศึกษาอิสระ”สามารถเรียนก็ได้ ไม่เรียนก็ได้ ผลสัมฤทธิ์ก็คือวุฒิการศึกษาในพม่านั้นไม่สามารถทำให้ผลใดๆทั้งสิ้นกับการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตได้


              การเปรียบเทียบการศึกษาของคณะสงฆ์เชียงตุงและคณะสงฆ์ไทยก็มีความคล้ายคลึงเกี่ยวเนื่องกันพอสมควร แต่เพียงแค่เชียงตุงยังขาดบุคลากรและงบประมาณในการจัดการเรียนการศึกษาด้วยประเทศมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์มากมายจากรัฐบาลทหารที่อาจทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่หากมีการพัฒนาและมีการช่วยเหลือจากพระสงฆ์ไทยหวังว่าคงต้องมีความเจริญและมั่นคงได้แน่ แนวโน้มของการพัฒนาการศึกษาในอนาคตจะต้องเกิดขึ้นแน่นอนโดยมีประเทศไทยหรือคณะสงฆ์ไทยเป็นผู้สนับสนุนทำให้เกิดองค์ความรู้และดำรงพระพุทธศาสนาได้อย่างมั่น


   

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. พม่า ประวัติศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ธนาคารกรุงเทพจำกัด, 2544.
มณี พยอมยงค์,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : 2539. สัมภาษณ์พระครูบาสาม โชติกธัมโม,เชียงตุง : 2550 จากงานวิจัยของอนุสรณ์ บุญเรืองฯลฯ
สุพิน ฤทธิ์เพ็ญ. ลัดเลาะถิ่นรัฐฉาน. เชียงใหม่ นพบุรีการพิมพ์, 2548.
สุภาพร มากแจ้ง และ สมปอง มากแจ้ง,รศ.ดร. การศึกษาสภาพการจัดการคณะสงฆ์. รายงานการวิจัย,กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ : 2542.
อนุสรณ์ บุญเรือง. การย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาและการเปลี่ยนสถานะทางสังคม : กรณีศึกษาพระเชียงตุงที่เข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา, 2551.