กลวิธีนำหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธไปใช้ประกอบอาชีพในชีวิตประจำวัน

Main Article Content

ภัทรเดช ปัณชญาธนาดุล

บทคัดย่อ

          เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อทุกคน การศึกษาเศรษฐศาสตร์จะช่วยศึกษาฝึกวิธีคิดอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ โดยอาจจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคคลแต่ละคนหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนโดยส่วนรวม เศรษฐศาสตร์จะช่วยให้สามารถระบุปัญหาได้ว่าคืออะไร มีทางเลือกต่างๆ โดยการแก้ปัญหานี้อย่างไร และสามารถเลือกการใช้ทรัพยากรที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหานั้น จะเห็นได้ว่าประเด็นสำคัญของเศรษฐศาสตร์คือเรื่องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ดังนั้นมนุษย์จึงต้องตัดสินใจเพื่อที่จะใช้ทรัพยากรอย่างจำกัด เพื่อสนองความต้องการต่างๆ ให้ได้มากที่สุด


             ในทางพุทธศาสนาก็ได้เสนอแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เพื่อทำอย่างไรที่จะทำให้สังคมอยู่อย่างพอเพียงและเกิดศานติสุข และดำเนินการประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันได้อย่างประหยัด และพอเพียง โดยใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาตามหลักทิฎฐัมมิกัตถประโยชน์ คือ ความขยันหมั่นเพียร รู้จักคุ้มครองเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้ คบคนดีเป็นมิตร และมีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม


            นอกจากนี้ทางพระพุทธศาสนายังได้สอนวิธีการแบ่งทรัพย์ที่หามาได้ด้วยหลักโภคาอาทิยะและหลักการบริหารจัดการทรัพย์ด้วยหลักโภควิภาคถ้าในสังคมหรือประชาชนได้นำหลักเศรษฐศาสตร์แนวพุทธไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันก็จะทำให้เกิดความศานติสุขอย่างแท้จริงและทำให้ประเทศชาติมีเสถียรภาพในการบริหารประเทศอย่างมั่นคง และยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์, 2558.
พุทธทาสภิกขุ. “ทรัพย์สมบัติคืออะไร”. ในสารนิพนธ์ พุทธทาสว่าด้วยวิถีประชาธิปไตยและหัวใจเศรษฐกิจ
พอเพียง. รวบรวมโดย กวีวงศ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท ตถตาพับลิเคชัน จำกัด, 2550.
พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ buddhist economics. กรุงเทพมหานคร:
คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, 2537.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3,กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, 2543.
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี). เศรษฐธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิชชยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีม
ทอง, 2554.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิ ฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
สมคิด แก้วสนธิ. เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข : การวิเคราะห์และประเมินผลบริการสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชีวัดภาวะสังคม. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความ
เหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2555. กรุงเทพมหานคร: งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2555.
สฤนี อาชวานันทกุล. อมารตยา เซน: นักเศรษฐศาสตร์ที่ใส่มิติทางศีลธรรม, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://v1.midnightuniv.org/midnight2544/0009999631.html [11 กุมภาพันธ์ 2559].
อภิชัย พันธเสน. พุทธเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์, 2547.
E.F. Schumacher. Small is Beautiful: Economics as if People Mattered. Harper Colophon Books :
London, 1975.
E.F. Schumacher. Small is beautiful. London: Vintage, 1993.