ข้อเสนอใหม่ของการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในมุมมองของรัฐ: บทวิพากษ์โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง

Main Article Content

จิรายุทธ์ สีม่วง

บทคัดย่อ

              ภายหลังการใช้แผนพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกในปี 2524 ส่งผลให้ภาคตะวันออกกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับประเทศสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ตลอดช่วงเวลาของพัฒนาการทางอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกแม้ว่าด้านหนึ่งจะสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจให้พื้นที่อย่างมากแต่ในทางกลับกันก็ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่ข้อเสนอต่าง ๆ ของรัฐในการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนารวมถึงการแก้ไขปัญหาผลกระทบ ซึ่งข้อเสนอการพัฒนาอุตสาหกรรมชุดใหม่ภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก นั้นพบว่ารัฐยังคงต้องการให้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไปภายใต้ยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพของยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม นอกจากนี้รัฐยังมีข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่ตามมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเป็นการปิดจุดอ่อนของแผนพัฒนาที่ผ่านมาแต่อย่างไรก็ตามข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงส่วนประกอบของการพัฒนาอุตสาหกรรมเท่านั้นเนื่องจากข้อเสนอการพัฒนาชุดใหม่นี้ยังคงเป็นข้อเสนอการพัฒนาที่มาจากส่วนกลางและขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ซ้ำร้ายยังเป็นการผลิตซ้ำปัญหาเหมือนเช่นดังที่เคยเกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). ม.
ป.ท. หน้า 10-12; การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. รายงานการศึกษาความเหมาะสมการ
จัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม. ม.ป.ท. 2560. หน้า 1-3.
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ: จุดเริ่มต้นของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ. 2556. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.ieat.go.th/eco/index.php?option=com_content&view=article&id=&catid= &Itemid=[8 พฤศจิกายน 2558].
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. ข้อกำหนดคุณลักษณะและเกณฑ์ตัวชี้วัดการเป็น “เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ”. กรุงเทพมหานคร : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.).2555.
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. รู้จักและเข้าใจ : สมัชชาสุขภาพ. [ออนไลน์]. แหล่งที่ม า : http://www.nationalhealth.or.th/gettoknow-samatcha. [3 ธันวาคม 2559].
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และชัยณรงค์ เครือนวน. ความไม่เป็นธรรมทางด้านสุขภาพกับการปฏิรูประบบทุนนิยม : กรณีศึกษาโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเหล็ก จังหวัดจันทบุรี.กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2555.
ชัยณรงค์ เครือนวน. วาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมของชนชั้นนำไทยและพันธมิตร: ศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้ตัวแบบมาบตาพุด ในวารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 4 (2). 2559.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็น
อื่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก. 2549.
เดชรัต สุขกำเนิน และคณะ. อนาคตระยองเส้นทางสู่สังคมสุขภาพ. กรุงเพทมหานคร: คุณาไทย. 2550.
เทศบาลเมืองมาบตาพุด. รายงานฉบับสุดท้ายบริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชน จังหวัดระยอง (ปรับปรุง
ครั้งที่ 3) ผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมหลักเทศบาลเมืองมาบตาพุด และชุมชนจังหวัดระยอง.
[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.mtp.go.th/public/sites/default/files/_old_news/new3/C6.Pdf. [15 ธันวาคม 2559].
มติครม. วันที่มีมติ 28/06/2559. เรื่อง โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EasternEconomic Corridor Development). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :https://cabinet.soc.go.th/soc/Program23.jsp?top_serl=99320088. [4 มกราคม 2560].
ยุวดี คาดการณ์ไกล. Q&A ภาษีสิ่งแวดล้อม: แนวคิด หลักการ และกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร :สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). 2553.
วรวรรณ ชายไพฑูรย์. บก. เวทีวิชาการเพื่อมาบตาพุด สถานการณ์มาบตาพุด : มลพิษ สุขภาพ และผังเมือง. นนทบุรี : สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. 2554.
สภาปฏิรูปแห่งชาติ. วาระปฏิรูปที่ 25 : ระบบการบริหารจัดการทรัพยากร : การอยู่ร่วมกัน อย่างยั่งยืนระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชน ด้วยแนวคิดเมืองนิเวศ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2558.
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เอกสารสรุปย่อ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก กรณีศึกษาจังหวัดระยอง.
สภาปฏิรูปแห่งชาติ. วาระปฏิรูปที่ 25: ระบบการบริหารจัดการทรัพยากร: การปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.2558.
สำนักข่าว สสส. สสส.เดินเครื่องตั้งศูนย์รวบรวมข้อมูลสิ่งแวดล้อม สุขภาพพื้นที่มาบตาพุด. 2553.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.nationalhealth.or.th/gettoknowsamatchawww.thaihealth.or.th/Content/23044-. [6 มีนาคม 2560].
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2558.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6381. [4 มกราคม 2560].
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การศึกษาเบื้องต้น ศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมของพื้นที่มาบตาพุด. ม.ป.ท. 2554.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติ
มาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://www.fpo.go.th/FPO/index2.php?mod=Content&file=contentview&contentID=CNT0006172&categoryID=CAT0000075. [15 ธันวาคม 2559].
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการศึกษาและ
กำหนดพื้นที่อุตสาหกรรม (Zoning) เพื่อรองรับการลงทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในภูมิภาค : ระยะที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2558.
สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ. รายงานการศึกษา แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ (Eco Industrial Town). กรุงเทพมหานคร : สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2553.
MGR Online. มาบตาพุดตั้งศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อม ภาค ปชช.เดินหน้าอุทธรณ์คดี 76 โครงการต่อ.[ออนไลน์]. แหล่งที่มา :http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000124833. [6 มีนาคม 2560].
Evans P. Dependent Development: The Alliance of Multinational, State, and Local Capital in
Brazil. Princeton. N.J.: Princeton University Press. 1979.
Habermas, J. Knowledge and Human Interests. trans. Jeremy J. Shapiro. London: Heineman.
1972.
O’Donnell, G. Modernization and Bureaucratic-Authoritarianism: Studies in South American
Politics. Institute of International Studies, University of California. 1973.