วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของกลุ่มนักศึกษาสมัยใหม่

Main Article Content

ณัฐนนท์ จิรกิจนิมิตร

บทคัดย่อ

ในสังคมประชาธิปไตยประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพที่จะชุมนุมและเคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งสนับสนุนและคัดค้านการกระทำของรัฐบาล การชุมนุมการเคลื่อนไหวทางการเมือง จึงถือว่าเป็นการแสดงออกซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย หากแต่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักเกิดความคิดที่เชื่อว่า ประเทศมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยทั้ง ๆ ที่จริงแล้วเป็นการปกครองประชาธิปไตยในคราบของเผด็จการ ทำให้กลุ่มนักศึกษา ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองด้วยความเชื่อที่ว่า สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคเป็นของประชาชน ให้ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้วัฒนธรรมทางการเมืองมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จะเห็นได้ว่า ด้วยขบวนการของกลุ่มนักศึกษาสมัยใหม่ที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการรัฐประหารในช่วงดังกล่าว ไม่ได้มีลักษณะเป็นขบวนการที่มีขนาดใหญ่ หรือมีองค์กรนำอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด หากแต่เป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะเครือข่ายของกลุ่มกิจกรรมนักศึกษาเล็กๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวพร้อมๆ กันอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเน้นบทบาทไปที่การเรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมือง ผ่านการสื่อสารทางออนไลน์ หากแต่ปรับบทบาทของการเคลื่อนไหวไปตามบริบททางสังคมและการเมืองที่เกิดขึ้น ทั้งในเชิงประเด็นการเคลื่อนไหวทางโครงสร้างของขบวนการ และยุทธวิธีการเคลื่อนไหวแบบกระจัดกระจายมากขึ้น ความเสมอภาคจึงเป็นหลักการสำคัญประการณ์หนึ่งของอุดมการณ์ประชาธิปไตย โดยประชาธิปไตยจะพัฒนาไปได้ประชาชนต้องมีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยและวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะเมื่อประชาชนรู้จักสิทธิหน้าที่และเสรีภาพ ก็จะทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาตามระบอบประชาธิปไตยด้วยหลัก 2 ศ 2 ส คือ 1) หลักความสำคัญและศักดิ์ศรีของบุคคล 2) เชื่อมั่นศรัทธาต่อหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย 3) ยึดมั่นและเชื่อถือในหลักความเสมอภาค 4) สนใจการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง โดยกลุ่มนักศึกษาสมัยใหม่ มีกระบวนการขับเคลื่อนด้วยขบวนการนักศึกษาแบบรื้อถอนด้านอัตลักษณ์ ( Identity Radicalism Student Movement) เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิดต่างๆ ที่ครอบงำสังคมสู่การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและการปลดปล่อยเพื่อให้หลุดพ้นจากการกดขี่ทางการเมือง โดยการเคลื่อนไหวของกลุ่มกลุ่มนักศึกษาสมัยใหม่ มีการดำเนินการที่มีเป้าหมาย ถือเป็นการปะทะสังสรรค์ทางความคิด การเบ่งบานทางประชาธิปไตย เปรียบเสมือนต้นกล้าของระบอบประชาธิปไตยของประเทศ เพื่อหาทางออกในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสันติวิธี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณิน บุญสุวรรณ. (2532). ปัญหาการถ่ายทอดอำนาจทางการเมือง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยวัฒน์ สถาอนันต์. (2546). อาวุธมีชีวิตแนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.

ฌานินธ์ สันตะพันธุ์.(2549). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2564 จากwww.pub-law.net.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2550). วัฒนธรรมทางการเมืองไทย. ใน เอกสารการประชุมวิชาการวัฒนธรรมการเมือง จริยธรรม และการปกครอง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

เบญจพล เปรมปรีดา. (2536). ทหารกับการสืบทอดอำนาจทางการเมืองไทย: กรณีศึกษาคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม และคณะ.ผลกระทบทางเศรษฐกิจของความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทย.

สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.pier.or.th/?abridged

รุ่ง แก้วแดง. (2542). การศึกษาไทยปี ค.ศ.2000. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช.

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2542). วิกฤติการณ์การเงินและเศรษฐกิจการเงินไทย. (พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

วันเพ็ญ บุญยืน. (2539). วัฒนธรรมทางการเมืองของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่.

วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร. (2557). การพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร :

สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฏร.

สุจิต บุญบงการ. (2526). บทบาทของสภานิติบัญญัติ. กรุงเทพมหานคร : เจ้าพระยาการพิมพ์.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2549). การเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

สุขุม รวลสกุล (2539). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยรามคำแหง.

Almond, Gabriel A. and Verba, Sidney. (1965). The Civil Culture:Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston : Little,Brown.

Azzimonti, M. (2018):. Partisan Conflict and Private Investment. Journal of Monetary Economics, Volume 23 (2018),

Gill, J., & DeFronzo, J. (2009). A Comparative Framework for the analysis of International Student Movement. Social Movement Studies.

Huntington, S.P. (1963). Political Order in Changing Societies. Conn : Yale University Press.

Samuel P. Huntington. (1968). Political Order in Changing Societies. Haven and London: Yale University.