เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ชลิดา แย้มศรีสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย เรื่อง “เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต” มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต 2.เพื่อศึกษาบทบาทของผู้กระทำการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต จากการศึกษาพบว่า             การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภูเก็ตในช่วงเวลา พ.ศ.2398 – 2560 มีพัฒนาการการดำรงวิถีชีวิต          ที่แตกต่างกัน อยู่ 2 ช่วงเวลา คือ 1.ช่วงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภูเก็ตด้วยเหมืองแร่ดีบุก            2.ช่วงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตด้วยการท่องเที่ยว การเกิดขึ้นของสถานประกอบการโรงแรม การมีท่าเรือเพื่อรองรับการท่องเที่ยวทางทะเล ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดภูเก็ต           ด้วยการสร้างเมืองภูเก็ตเมืองสร้างสรรค์ทางอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และพูนศักดิ์ ชานิกรประดิษฐ์. (2540). เศรษฐกิจหมู่บ้านภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ในอดีต. สำนักพิมพ์สร้างสรรค์, กรุงเทพฯ.
พวงทิพย์ เกียรติสหกุล. (2534). บทบาทของชาวจีนและชาวตะวันตกต่อกิจการเหมืองแร่ดีบุกของ
มณฑลภูเก็ต ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 – พ.ศ.2474. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภูมิ ดวงแข. (2559). โรงแรมชิโนโปรตุกิส จังหวัดภูเก็ต. สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2530). “ทุนจีนในภาคใต้ : บทวิเคราะห์เฉพาะยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์,”
เศรษฐศาสตร์การเมือง 6,2530.
วิทยา อาภรณ์. (2557). นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
สงบ ส่งเมือง. (2532). วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ภาคใต้. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, ดิลก วุฒิพาณิชย์ และประสิทธิ์ ชิณการณ์. (2544). จีนทักษิณ : วิถีและพลัง.
กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุรีย์ เลียงแสงทอง. (2524). การศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจเมืองภูเก็ตระหว่าง พ.ศ.2396-2475.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.