การใช้พื้นทีสาธารณะของผู้สูงอายุในเขตเมืองเชียงใหม่: การศึกษาแบบผสานวิธี

Main Article Content

อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพรรณนาการใช้พื้นที่สาธารณะของผู้สูงอายุในเขตเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed- Methodology Research) เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตกับผู้นำชุมชน และผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่ รวมจำนวนทั้งสิ้น 15 คน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่ จำนวน 370 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา


            ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุในเขตเมืองเชียงใหม่ใช้พื้นที่สาธารณะประเภทสถานที่ ประเภทลานกิจกรรม และประเภทเส้นทางจราจรในชุมชน ส่วนใหญ่เลือกใช้พื้นที่สาธารณะที่ไม่ไกลจากที่พักของตนเอง สามารถเดินทางเข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะได้อย่างสะดวกด้วยรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ โดยมีช่วงเวลาที่เข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะไม่แน่นอน มีการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ในช่วงวันธรรมดา สาเหตุที่เข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะเนื่องจากมีความสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆโดยฌพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ปัญหาของการใช้พื้นที่สาธารณะผู้สูงอายุมีปัญหาเกี่ยวกับการเดินทางที่ต้องเผชิญกับการจราจรที่ติดขัด พื้นที่จอดรถมีไม่เพียงพอ และผู้สูงอายุในเขตเมืองมีความคาดหวัง/ความพึงพอใจกับพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเชียงใหม่อยู่ในระดับมาก ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดการปัญหาจราจร และเพิ่มเติมพื้นที่จอดรถ ตลอดจนคอยอำนวนความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในการเข้ามาใช้พื้นที่สาธารณะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐธิดา จงรักษ์และนัฎฐิกา นวพันธุ์.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพของพื้นที่ว่างสาธารณะกับรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาสวนสาธารณะในพื้นที่เมือง จังหวัดพิษณุโลก,วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง,2562 12 (1) หน้า 27-39.
บรรลุ ศิริพานิช.2552.“สังคมไทยกับการสร้างพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุ.” http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9520000048071 [25 มีนาคม 2563]
ปรารถนา ศิริเบ็ญนรัต, “รูปแบบการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการบำนาญในเขตเทศบาล จังหวัดนครปฐม”,วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563.
พันธพัฒน์ บุญมา,แนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ บริเวณพื้นที่สาธารณะริมกว๊านพะเยาเพื่อรองรับการใช้งานของผู้สูงอายุ,วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,2563 11 (1) หน้า 31-48.
ภัทรรดา อุ่นกมล,การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรับรู้คุณค่าของตนเองและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุเขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร.วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2562 22 (1) หน้า 125-136.
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์และเกศปกรณ์ แสงเงิน,แนวทางการพัฒนาบริการขนส่งสำหรับผู้สูงอายุในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร, Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,2561 11(1) หน้า 3032-3047.
ศุทธิดา ชวนวัน กาญจนา เทียนลาย และปัญวัฒน์ เถื่อนกลิ่น,รูปแบบการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุไทยในเขตเมืองเพื่อสนับสนุนการมีที่อยู่อาศัยและการดูแลที่เหมาะสม,(กรุงเทพมหานคร :สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ,2563)
สานิตย์ หนูนิลและกนกวรา พวงประยงค์,ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ในชนบทไทย,วารสารพัฒนาสังคม,2562 21(2) หน้า176-195.
สามารถ ใจเตี้ยและดารารัตน์ จำเกิด,พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเมือง,ราชภัฎเพชรบูรณ์สาร,2555 14 (2) หน้า 107-112.
สุรีรัตน์ จำปาเงิน,“แนวทางการพัฒนาสวนสาธารณะที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ”,วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559.
อิทธิพงษ์ ทองศรีเกตุ ดุษฎี อายุวัฒน์และเสาวลักษณ์ ชายทวีป,การย้ายถิ่นในกลุ่มผู้สูงอายุ:การเปลี่ยนแปลงชีวิตจากชนบทเข้าสู่เมือง,วารสารสังคมศาสตร์,2560 29(2) หน้า 103-134.
Giddens,A,Sociology, Cambridge and Oxford: Polity Press, 2000.
Habermas J,The structural transformation of the public sphere: An inquiry into a category of bourgeois society. Cambridge: MIT Press,1989.
Krejcie R.V.,D.W. Morgan, Determining Sample Size for Research Activities,Educational and Psychological Measurement,1970 30 (3) pp.607- 610.
Liyod M, Auld C.Leisure, public space and quality of life in the urban environment, Urban Policy and Research, 2003 21(4) pp. 339-356.
Madanipour, A, Public and Private Spaces of the City. London: Routledge,2003.
Oldenburg R, Celebrating the third place: inspiring stories about the great good places at the heart of our communities. New York: Marlowe & company, 2001.
Power A, Mumford K, The slow death of great cities?: urban abandonment or urban renaissance,York Publishing Services-Joseph Rowntree Foundation,1999.
Smith A. E, Ageing in urban neighborhoods: place attachment and social exclusion. Bristol: Policy Press, 2009.