ปรากฏการณ์ทางความเชื่อของคนไทยในยุคปัจจุบัน

Main Article Content

พระชลญาณมุนี นาคสิทธิเลิศ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง “พระพุทธศาสนากับปรากฏการณ์ทางความเชื่อของคนไทย” พบว่าปรากฏการณ์ทางความเชื่อที่เกี่ยวกับศาสนาของคนไทยที่มีรากฐานมาจากการเชื่อบรรพบุรุษ ที่มีการผสมผสานความเชื่อ และขาดความรู้ความเข้าใจ ที่ทำให้ความเชื่อที่มีต่อศาสนามีการคาดเคลื่อนออกและห่างจากหลักความเชื่อตามแนวพระพุทธศาสนา ที่ส่งผลให้เกิดความงมงายเชื่อทุกอย่างที่พึ่งพาหาประโยชน์ได้ บางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของความเชื่อ เพราะเป็นความเชื่อที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ดังนั้นปรากฏการณ์ทางความเชื่อในพระพุทธศาสนาสามารถจำแนกโดยตามลำดับ ดังนี้ (1) ระดับการเข้าสู่ความเชื่อในเบื้องต้น โดยใช้หลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงมีปรากฏในพระพุทธศาสนา (2) ระดับการใช้เหตุผล โดยใช้หลักตรรกะ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในอริยสัจ 4 และ (3) ระดับปัญญา โดยใช้หลักไตรสิกขาฝึกอบรมพัฒนาจิต เพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องมีปรากฏในความเชื่อ 4  ดังนั้นปรากฏการณ์ความเชื่อของคนไทย 4 กลุ่ม ได้แก่ ความเชื่อในการรักษาโรค ความเชื่อในความสุข ความเชื่อในด้านความรัก และความเชื่อเรื่องของกรรม สามารถนำมาวิเคราะห์ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ดังนี้ การรักษาโรคใช้หลักอริยสัจ 4 การรักษาความสุขใช้หลักสุขของคฤหัสถ์และบรรพชิต และการรักษาความรักใช้หลักสมชีวิธรรม 4 ฆราวาสธรรม 4 พรหมวิหารธรรม 4 ที่มีปรากฏการณ์ทางความเชื่อของคนไทยที่เชื่อว่าการรักษาโรคได้ตามคำแนะนำทางพระพุทธศาสนาได้นั้นเอง


 


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัญญ์ฐิตา ศรีภา. “การวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความในวิชาชีพพยาบาล”. พยาบาลตำรวจ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. กรกฎาคม-ธันวาคม 2555 : 6-7.
เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์, 2557.
ทวี ผลสมภพ. ปรัชญาศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. 2500. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลักษณวัต ปาละรัตน์. ญาณวิทยา,. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2558.
วินัย ไชยทอง และกิตติเชษฐ สมใจ. มรดกไทย. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาระบบการพิมพ์, 2547.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 38.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต, 2559.