วิถีของพระสงฆ์ในการปรับตัวยุค New Normal
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในสภาวะปัจจุบันการดำเนินชีวิตของพระสงฆ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมากเนื่องจากเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พระสงฆ์ก็จำเป็นต้องมีปรับตัวและการป้องกันตนเองไม่ให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่น ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้น คนไทยทุกคนต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต คือ ไม่ออกจากบ้าน สั่งอาหารผ่านเดลิเวอรี่ จับจ่ายอย่างระมัดระวัง ทำงานอยู่ที่บ้านใช้สื่อออนไลน์ในการสื่อสารระหว่างกัน ทำให้การงาน การเรียน และธุรกิจ วิถีชีวิตแบบเดิมต้องปรับเปลี่ยนส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติศาสนกิจวิถีใหม่ให้ปลอดภัยจากโควิด เพื่อสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติศาสนกิจในยุค New Normal ซึ่งเป็นความปกติใหม่ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวันและการขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะออนไลน์ จากเหตุการณ์ โควิด-19 ทำให้พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป รวมถึงกิจกรรมทางศาสนาทั้งของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา เพราะกำหนดให้เป็นกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรค ทำให้พระสงฆ์ไม่สามารถออกบิณฑบาต หรือแม้แต่การที่ญาติโยมเข้ามาทำบุญตักบาตรได้ การสร้างความมั่นคงทางหาร จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่พระสงฆ์จะสามารถเข้าถึงแหล่งอาหารที่มีอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภค อีกทั้งวัดยังเป็นสถานที่พึ่งให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน ในการใช้ประโยชน์จากบริเวณ “วัด” เป็นที่คัดกรองผู้ป่วย พักอาศัย ส่งต่อ และเมื่อเสียชีวิตก็ทำประกอบพิธีให้รวมถึง การฟื้นฟูสภาพจิตใจวัด ก็เป็นที่พึ่งทางจิตใจ ต้องมี “สติ” ในการดำรงชีวิต เพื่อฝ่าฝันวิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตแบบใหม่ไปพร้อมๆ กัน
Article Details
References
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.ความรู้พื้นฐาน COVID-19. สืบค้นวันที่ 5 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มาhttps://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2020/EBook/49793_20200325095718.pdf
ผู้จัดการออนไลน์.(2564).สำนักพุทธฯยันพระสงฆ์ต้องได้เงินเยียวยาโควิด-19. สืบค้นวันที่ 5 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/local/detail/9640000010804.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๐.กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานกุศล.
พระครูพิศิษฎ์ประชานาถ. (2560). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนา ชุมชนตามแนววิถีพุทธ ในจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ ปริทรรศน์, 6(2)(ฉบับพิเศษ)
พระครูสมุห์วรวิทย์ ผาสุโก. (2559). พระสงฆ์กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนวัดสามชุกฝั่งตะวันตก และฝั่งตะวันออก. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร., 4(ฉบับพิเศษ).
พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณและคณะ. (2563). NEW NORMAL: การปรับตัวเพื่อการศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 17(1).
ศจินทร์ ประชาสันติ์. (2555). ความมั่นคงทางอาหาร: แนวคิดและตัวชี้วัด. นนทบุรี: มูลนิธิชีววิถี.
อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก .กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, สืบค้นวันที่ 4 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/dtam-news/dn/6769-dn0018.html
อุทัย บุญเย็น. (2564). นิว นอร์มอล คือวิถีชีวิตของพระสงฆ์สมัยพุทธกาล.สืบค้นวันที่ 4 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://siamrath.co.th/n/158884.
Krugman, P. (2007). Innovating our way to financial crisis. The New