รูปแบบการพัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพกำลังคนเพื่อการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กำลังคนที่ทำงานในองค์กรอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตประเทศไทย ที่มีการจัดการการผลิตแบบญี่ปุ่น และมีผู้บริหารระดับสูงเป็นชาวญี่ปุ่น จำนวนกลุ่มตัวอย่าง คือ 416 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง การประชุมสนทนากลุ่มย่อย และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis :EFA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล มีองค์ประกอบที่ได้จากการวิเคราะห์ 10 องค์ประกอบ 2) ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 ท่าน ทำการประชุมสนทนากลุ่มย่อย และลงมติเป็นเอกฉันท์รับรอง องค์ประกอบและรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ โดยแบ่งเป็นศักยภาพการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ศักยภาพด้านการจัดการองค์กร ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1) ความรอบรู้ในงาน 2) การพัฒนาตนเอง และ 3) การนำองค์กร ด้านที่ 2 ศักยภาพด้านการจัดงาน ประกอบองค์ประกอบที่ 4 ) การแก้ไขปัญหา และ 5) การปฏิบัติการ และด้านที่ 3 ศักยภาพด้านการจัดการผลิตภาพ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ 6) การรับผิดชอบสังคม 7) การจัดการคุณภาพและต้นทุน 8) การจัดการและพัฒนาคน 9) การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล-AI และ 10) การจัดการความปลอดภัยและความเสี่ยง และ 3) ผลการจัดทำคู่มือการพัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ทำการตรวจประเมิน พบว่ามีความเหมาะสมที่ระดับมากที่สุดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนเพื่อการเพิ่มผลิตภาพในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในยุคดิจิทัล ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chanatapong, S., & Osatis, C. (2020). Turning The Thai Automotive Crisis Over by Upgrading Labor Skills (Research Report). Bangkok: Bank of Thailand.
Department of labor Protection and Welfare. (2018). Occupational Health and Safety Management Manual. Bangkok: Department of labor Protection and Welfare.
Digital Economy Promotion Agency. (2019). Key Technology: Artificial Intelligence (AI).
Retrieved June 5, 2021, from: https://www.depa.or.th/th/article - view/tech-series-artificial-intelligence-ai.
Fukikhan, C. (2016). Human Resource Management. Bangkok: V. Printing (1991) Co., Ltd.
Goetsch, L. & Davis, S. (2014). Quality Management for Organizational Excellence: Introduction to Total Quality. (7th ed.). USA: Pearson.
Hosotani, K. (2008). The QC Problem -Solving Approach. Bangkok: TPA Publishing.
Larsson, L. & Massart, C. (2009). Business Ethics, Corporate Social Responsibility and Sustainability in Management Master programs. (Master’s Thesis). UMEA School of Business. UMEA University. USA.
Mangkong, S. (2012). Systematic-Problem-Solving. Retrieved. June 20,2021, from
http://spsjapan.blogspot.com/2012/10/systematic-problem-solving.html.
Ministry of Industry. (2016).Thailand Industrial Development Strategy 4.0. Bangkok: Ministry of Industry.
Mongkong, C. (2016). Productivity Mindset. Training Material on the Productivity Facilitator Techniques for Smart Leader. Bangkok: Thailand Productivity Institute.Office of Thailand Quality Award. (2019). TQA Criteria for Performance Excellence
Framework 2563-2564. Bangkok: Tawanook Printing Co.,Ltd.
Puvitayaphan, A. (2017). HR Functional Competency Development Program. ( 1st ed.). Bangkok: Pimdee Printing Co.,Ltd.
Skripak, J. (2016). Fundamentals of Business. Retrieved June 20, 2021. from:
https://www. vtechworks.lib.vt.edu/bitstream/handle/ 10919/70961/Fundamentals%20of%20Business%20%28complete%29.pdf .
Srassametummachot, S. (2005). Potential Development Guidelines: Competency. (2 nd ed.). Bangkok: Sirivatana Interprinting Public company Limited.
Thailand Productivity Institute. (2019). Has Thailand’s Competitiveness Really Improved ?. Retrieved July 9, 2020, from:https://www. piu.ftpi.or.th/wp - content/updoads/2017/06/TFP_rev2.pdf.
The Federation of Thai Industries. (2016).Thai Industry to Industry 4.0. Retrieved July9,2020.
from:https://www.nfcrbr.or.th/site/attachments/article/81/White20.pdf
The Stock Exchange of Thailand. (2012). Corporate Social Responsibility Guidelines. Bangkok: Magic Press Co., Ltd.
Tirakanant, S. (2006). Use of Statistics in Social Sciences: A Guide to Action. (2 nd ed.). Bangkok: Printing House of Chulalongkorn University.
Yongpisanphob, W. (2020). Autoparts Outlook (Research Report). Bangkok: Krungsri Research.