การเสริมสร้างพุทธจริยธรรมสำหรับนักการเมือง

Main Article Content

ศุภกร ณ พิกุล
พระครูวรวรรณวิฑูรย์

บทคัดย่อ

          ในการพัฒนาบ้านเมือง สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่นักการเมืองมีจริยธรรม ซึ่งในปัจจุบันสังคมไทยกลายเป็นสังคมแห่งวัตถุนิยม ผู้คนขาดหลักพุทธจริยธรรมจิตใจต่างคนต่างมุ่งแต่จะแสวงหาประโยชน์โดยมิได้คำนึกถึงคุณธรรม จริยธรรม การขาดจริยธรรมทางการเมืองนับเป็นปัญหาหลักประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย ซึ่งผู้นำทางการเมืองถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวไปสู่ความเจริญ ทำให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข หากผู้นำทางการเมืองขาดซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมทางการเมืองก็มักจะก่อให้เกิดปัญหาในรูปแบบต่างๆ ในสังคม


          หลักพุทธจริยธรรมสำหรับผู้นำทางการเมืองเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาแก้ปัญหาจริยาธรรมสำหรับผู้นำทางการเมืองได้เป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นหลักธรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักการบริหารบ้านเมืองที่จะช่วยเสริมสร้างให้ผู้บริหาร นักการเมือง รวมไปถึงผู้คนไม่ว่าจะอยู่ในสาขาอาชีพใด มีธรรมะในใจ ในบทความนี้ผู้เขียนจึงขอนำเสนอประเด็นสำคัญคือ ความหมายของพุทธจริยธรรมสำหรับผู้นำทางการเมือง บทบาทและความสำคัญของศาสนาที่มีต่อสังคม หลักพุทธจริยธรรมสำหรับผู้นำทางการเมือง ได้แก่ พรหมวิหารธรรม 4 อิทธิบาท 4 และหลักสุจริต 3 และการเสริมสร้างพุทธจริยธรรมสำหรับนักการเมือง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Kerdkaew, T. (2010). Buddhist Philosophy: World Perspective based on Reality. Bangkok: Commercial World Media.

Kulsirisawat, D. (1979). Standing Point of Ethics in the Thai Society. In Office of Board of National Education, Office of Prime Minister.

Report on the seminar on the Ethics in the present Thai society on 28-29 April, 2012, Bangkok: Department of Religious Affair. (in Thai).

Office of the Civil Service Commission (OSCS). (2010). The Creation of Assessment Tools to Develop Morality, Ethics and Corporate Transparency. Bangkok: D.K. Printing World.

Pantumanawin, D. (1981). Behavioral Science. Bangkok: Thai Wattana Panich.

Phra Methidhammapon (Prayun Dhammachitto). (2013). Integrity for Executives. Bangkok: Buddhadhamma Foundation.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2013). Dictionary of Buddhism. Bangkok: SR Printing

Mass Product.

Phirapolphipat, M. (1997). Leader’s Ethic. (Master’s Thesis). Mahidol University. Bangkok.

Samutwanit, Ch. (1998). Political Concept of Thailand. Bangkok: Chulalongkorn University Printery.

Sinsawat, N. (2002). Political of Thailand. Bangkok: Ramkhamhang University Printing House.

Suwanmala, J. (2017). Political Culture in Thailand. King Prajadhipok's Institute Journal. 5(3).