การศึกษาหลักปฏิบัติไตรสิกขาตามแนวทางโอวาทของพระสารีบุตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาหลักการเจริญไตรสิกขาในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวโอวาทของพระสารีบุตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวโอวาทของพระสารีบุตร เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร
ผลการวิจัย พบว่า หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่นำไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏอย่างแท้จริง ศีล คือการเว้นจากความชั่วทั้งทางกายและทางวาจา สมาธิ คือ การฝึกฝนจิตใจให้มั่นคง จิตไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจกิเลสตัณหา ปัญญา คือการพิจารณาตามความเป็นจริงของสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าในขณะปัจจุบัน การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวโอวาทของพระสารีบุตร คือท่านเน้นสอนให้เกิดปัญญา โดยการนำสิ่งของสภาพแวดล้อม หรือเหตุการณ์รอบตัวมาเป็นเครื่องมือ ในการสอนธรรมะ เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจง่ายและสามารถนำไปพิจารณาหรือปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง
แนวการเจริญไตรสิกขา ศีล สมาธิ และปัญญา ท่านได้มุ่งเน้นฝึกฝนและขัดเกลาปัญญาของผู้ปฏิบัติเป็นหลัก โดยให้มีสติรู้ทันสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน พร้อมพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของสภาวธรรมตามความเป็นจริง และท่านยังสอนการเจริญวิปัสสนาผ่านการสนทนาธรรมอีกด้วย เพื่อให้ผู้ที่ได้สนทนาธรรมกับท่าน ได้พิจารณาตามธรรมะที่ได้สนทนา จนเกิดปัญญาญาณรู้เห็นตามความเป็นจริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chaosanit, S. (1979). Roles of Phra Sariputra and Phra Moggallana in spreading Buddhism. (Master's Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.
Mahamakut Buddhist University. (1982). The Tripitaka with Commentary translated set of 91 volumes. Bangkok: Mahamakut Printing Press.
Phanthunon, V. (2018). The Threefold Training (Tisikkhã) and the Enlightenment in Therãvada Buddhist Scriptures. (Master’s Thesis).Mahachulalongkornrajavidyalaya Universit. Ayutthaya.
Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto). (2016). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Foundation for Peace Phra Dhammapitaka (Ph.D. Payutto).
Phra Kittisak Yasothara Kaewlao. (1996).A study of saririputta-thera 's role in propagation of buddhism. (Master’s Thesis).
Mahachulalongkornrajavidyalaya Universit. Ayutthaya.
Phra Maha Siras Pasanachitto Pianphithak. (2014). A Study of Buddha's Teachings Concerning to the Insight Development (Vipassanabhavana) in Mahavedallasutta. (Master's Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya Universit. Ayutthaya.
Phra Maha Suthat Tissarawati (student). (2007). Vanity in Theravada Buddhist Philosophy. (Master's Thesis).
Mahachulalongkornrajavidyalaya Universit. Ayutthaya.
Phrabhavana Khemkun Wi (Surasak Khramsi). (2017). Considering the Ayana 6.(1st printing), Phra Nakhon Si Ayutthaya: Supatipanno Foundation Mahayong Temple.
Pimnaow, S. (2018). Learning Management Based on Threefold Training for Student Development of Social Studies Religion and Culture Department of Srikranuan Wittayakom School . (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya Universit. Ayutthaya.
Somdej Phra Yannasangwon Somdej Phra Sangkharat (Charoen Suwattano). (1993). Precepts, concentration and wisdom in Buddhism. (4th edition). Bangkok: Limited Partnership Chuankid Publishing House.
Somdet Phra Phuthajan (Arch Asabha Mahathera). (2011). Visuddhimagga. Bangkok: Thanapress Co., Ltd.
Supasorn, P. (2008). Mahanitthes : Scriptures on the Science of Expanding Early Buddhist Dharma. Retrieved 5/23/2565, from https://www.mcu.ac.th/article/detail/14302.
Tansrisuk, s. (2007). The literary works of Sariputta in the Pali Tipitaka. (Master's Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Tongtip. T. (2012). An Analysis of Education on the Threefold Training . (Doctor of Philosophy). Mahachulalongkornrajavidyalaya Universit. Ayutthaya.
Waitayasawee. (2008). A Study Guide for the Abhidhammathasanggaha 9th Precept Kammatthana Sanghabhagabhagabha. (5th edition). Nakhon Pathom: Nabmahaniranon Foundation.