ศึกษาวิเคราะห์วัตถุทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการให้ทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) ศึกษาวัตถุทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) วิเคราะห์วัตถุทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา วรรณกรรมพุทธศาสนา ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนำมาวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอในรูปแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
การให้ทาน หมายถึง การเสียสละ การลดความเห็นแก่ตัว มุ่งประโยชน์ของผู้อื่นมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ความตั้งใจก่อนให้ทาน ความตั้งใจขณะกำลังให้ทาน และความตั้งใจหลังจากให้ทานแล้ว ทานแบ่งออกเป็น วัตถุทาน และธรรมทาน
วัตถุทาน หมายถึง การให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน ในพระสูตรต่าง ๆ กล่าวไว้ 10 ประการ คือ อนุนำ ปานัง วัตถัง ยานัง มาลา ศนุธ วิเลปน เสยยา อาวัสถัง ปริเปยยัง วัตถุทานแบ่งตามทวารได้ 6 อย่าง คือ รูปทาน การให้รูปเป็นทาน สัทททาน การให้เสียงเป็นทาน คันธทาน การให้กลิ่นเป็นทาน รสทาน การให้รสเป็นทาน โผฏฐัพพทาน การให้สัมผัสทางกายเป็นทาน และธรรมทาน การให้สิ่งที่เป็นธรรมเป็นทาน ถูกแบ่งออกเป็นของจากภายในตัวเรา เรียกว่า อัชฌัตตะ และของที่อยู่นอกตัวเรา เรียกว่า พหิทธะ
จากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การให้ทานด้วยวัตถุทาน จะถือเอาแต่ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ในการจัดหามาเป็นลำดับแรก มุ่งแต่อานิสงค์แห่งการถวายวัตถุทาน ขาดการพิจารณาถึงประโยชน์แก่ผู้รับ ทำให้อานิสงค์แห่งการถวายทานไม่บริบูรณ์ ดังนั้นเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ และประโยชน์สุข ทั้งผู้ให้ทาน ผู้รับทาน จึงนำมาซึ่งการศึกษาวิเคราะห์วัตถุทานในพุทธศาสนาเถรวาทในครั้งนี้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bodhichayatham, B. (2012) A comparative study of the giving dering the time of the buddha and the giving by the people in Nalueng Sub-District Villagers, Selaphum District, Roi-et Province.
Buddhism, (Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University).
Chaiwong, S. (1998) “An analytical study on “alms giving” in Buddhism”, Master of Arts thesis. (Graduate School: Chiang Mai University) .
Chanrang, T. (2010) Theravada Buddhism. (8 ed.). Chiang Mai: Pongsawad Printing Factory, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Mangkalajarn, S. (1994) Mangalatthadeepani Translation, Volume 3, 18th Edition, (Bangkok: Mahamakut Wittayalai Publishing House).
Payutto, P. (2016) Buddhist dictionary Dharma edition. 36th Edition, Bangkok: Pallitham.
Prathumthong, K. (2007) analytical study Panjamaha Donations appearing in Buddhist scriptures, Theravada department, Master of Buddhist Thesis Major in Buddhism, (Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University).Publishing House.
Suksiri P. (2015). “An analysis of alms in Theravada Buddhist philosophy that appears in Isan Phaya”. Journal of Mahamakut Wittayalai University Roi Et Campus. Year 4 Issue 2 (July-December).
Thammanusit, P. (2003), “Comparative study of examples of alms giving in monks Suttantapitaka and the real practice in Lamphun”, Master of Buddhist Thesis Major in.