การเข้าสู่การกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี

Main Article Content

ชฎาภรณ์ กำแพงแก้ว
กัญญ์ฐิตา ศรีภา

บทคัดย่อ

ปัญหาการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนเป็นปัญหาใหญ่และรุนแรงมากขึ้น งานวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขในการเข้าสู่การกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติดของเด็กและเยาวชน และถอดบทเรียนการดูแล บำบัด ฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำ รวมถึงค้นหาแนวทางในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชน ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด ครูที่ปรึกษา ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกฯ นักจิตวิทยาเด็ก นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล ผู้ปกครองเด็กรวมจำนวน 16 คน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ทำให้เด็กกลับไปกระทำผิดซ้ำ มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านครอบครัว ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ส่วนการดูแลและบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรม ดำเนินการตามต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ใช้โครงการบ้านล้อมรัก โครงการพัฒนาระบบการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูเด็กและเยาวชนเฉพาะรายแบบไร้รอบต่อ และโครงการเยาวชนไทยเข้มแข็งในโครงการคืนคนดีสู่สังคม ส่วนแนวทางป้องกันการกระทำผิดซ้ำ ได้แก่ การชี้ให้เห็นผลกระทบจากการเสพสารเสพติด ให้ตระหนักถึงโทษจากการกระทำผิด ปรับจิตใจให้เข้มแข็ง ตั้งเป้าหมายในอนาคต ให้โอกาสทางสังคม ปรับทัศนคติ ส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว และปรับสภาพแวดล้อม ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยจะช่วยให้ทุกภาคส่วนตระหนักรู้ถึงปัญหาและช่วยให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติดได้มากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandura, A. (1986). Social Intelligence ‘The new Science of Success’. Harvard Business Review. New York. USA.

Ban Pranee. (2017). Characteristics of the organization. Retried December 22, 2022, form http: www.banpranee.com/index.php/th/about us? fbclid = /WARD/DFDelCP49N1L HAzkxCPX61.

Braithwaite, J. (1989). Crime, Shame and Reintegraton. Cambridge, UK : Cambridge Unversity Press.

Chamnong A. (2010). Participation in drug prevention and problem solving of village health volunteers in a community. Udon Thani Province. Khin Kaen University.

Cohen, A.K. (1995). Delingent Boys : The Culture of the Gang. Glencoe, IL : Free Press.

Gottfredson, M.R. & Hirschi, T. (1990). A General Theory of Crime. Stanford, CA : Stanford University Press.

Harsanyi, John C. (1986). “Advances in Understanding Rational Behavior”. In Elster, J. (ed). Rational Choice. Oxford : Basil Black well.

Merton. (1968). Social Theory and Social Structure. Glencoe, III : The Free Press.

Narcotics Prevention and Suppression, C. (2022). Strategic plan for Treatment and Rehabilitation of Drug Patients fiscal Year 2021-2023. Ministry of Public Health.

Pinit, L. (2013). Research on children, Youth and Drugs. Research Institute. Chulalongkorn University.

Pronchai, K. (2008). Criminological Theory : Principle, Research and Policy implication. Bangkok : S Charoen Publisher.

Rapiphan, B. (2019). Kid’s Drug Advisory : Case studies of training and training center, Children and districts. 1 Rayong province.

(Master of Philosophy.) Bangkok : Chulalongkorn University.

Sutherland, Edwin H. (1947). Principles of Criminology (4th.ed). Philadelphia : Lippincott.