ศึกษาพฤติกรรมการรังแกกันของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.ปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การรังแกกันในโรงเรียน นับเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และการแก้ไขปัญหานี้ ยังมีอุปสรรคอยู่หลายด้าน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ปัจจัยเงื่อนไขที่นำไปสู่ การรังแกกันของนักเรียนในโรงเรียนเอกชน และศึกษาแนวทางในการปรับพฤติกรรมของนักเรียนที่มีพฤติกรรมรังแกผู้อื่น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นักเรียน ครูหัวหน้าระดับ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น นักจิตวิทยาคลินิก ผู้ปกครอง รวมจำนวน 13 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการรังแกที่เด็กได้พบเจอคือ การพูดล้อเลียนปมด้อย การถูกกีดกันออกจากกลุ่ม ปัจจัยที่ทำให้เกิดการรังแกกัน ได้แก่ ต้องการเป็นจุดเด่น อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน การถูกอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่ต่างกัน ระบบการศึกษาที่เน้นการแข่งขันมากกว่าการพัฒนาทักษะชีวิต การถูกตีตราจากสังคมรอบข้าง แนวทางในการปรับพฤติกรรม ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขพฤติกรรมของเด็ก เน้นการปรับพฤติกรรมแทนการลงโทษที่รุนแรง ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยจะช่วยให้บุคลากรทางการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญ และแนวทางการป้องกันปัญหาการรังแกกันของเด็กนักเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Amornlerdwit, J. (2015). Socialization. Collection of subject matter liberal arts. (23rd ed). Nontaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.
Chaiyapan, M. (2014). Psychology: Theory Concept in a Study of Behavioral Modification in the Classroom. Journal of Humanities and Social Sciences (Primary Edition). Narathiwat University Ratchanakarin, 1(1), 22-32.
Child and Adolescent Mental Health Rajanagarindra Institute. (2018). A practical guide for preventing and managing bullying in schools. (3rd ed). Bankok: Beyond Publishing CO.,LTD.
Khangpenkhae, N. (2019). School social design. (1st ed). Nontaburi: Projects to support participation of children, youth and families.
Khantee, P. (2015). Criminological Theory : Principle, Research and Policy Implication. (5thed.). Bankok: S.Charoen Publisher.
Niyomdham, N. (2015). A Study of Bullying Behavior in Elementary school students to junior
high school students in Japan Case study Bullied. Thesis In Japanese Language, (Department of Oriental Affairs Faculty of Humanities). Chiang Mai University.
Sripa, K. (2019). Criminal Psychology. (1st ed). Nakhonpathom: Phum Publisher.
Vaschkama, P. (2017). Factors Marketing That a Guardian Uses to Decide Choose the Private School Gives the Descendant Reaches To Study. (Master of Education Thesis). Udon Thani Rajabhat University.
Weeraburinon, J. (2018). Background and Thai Education Management System. Retrieved October 4, 2019 from http://www.kruinter.com.
Wongupparaj, R. (2018). Guidelines Of Social And Emotional Learning To Preventing And Solving Emotional And Behavioral Problems Of Preschoolers. Journal of Education, Faculty of Education). Chulalongkorn University, 19(1), 161-163.