คุณภาพชีวิตและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา

Main Article Content

สุดา สุชฎา ฮิลเลียรีย์
เกียรติ บุญยโพ
ตระกูล จิตวัฒนากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตของพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร 2) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่พนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
(Semi-Structured Interview) ในการเก็บรวมรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงจัดหมวดหมู่ และใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่ข้อสรุป


          ผลการวิจัยพบว่า


1. พนักงานส่วนใหญ่ทั้งก่อนและในขณะที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพพลานามัยร่างกายแข็งแรง พนักงานทุกคนยังคงมีน้ำใจช่วยเหลือต่อกันและกัน บรรยากาศในที่ทำงานก็ยังมีความอบอุ่นถึงแม้จะอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาในส่วนของการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดนั้นจะลดน้อยลง ส่วนการเพิ่มพูนความรู้จากการฝึกอบรมนั้นยังคงมีให้โดยเปลี่ยนเป็นแบบออนไลน์ และขณะที่ก่อนการเกิดโรคระบาดทางโรงแรมได้จัดให้มีการเข้าร่วมฟังธรรม ทำกิจกรรมทางศาสนาอยู่สม่ำเสมอ จึงทำให้พนักงานมีจิตใจสงบถึงแม้จะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤต ส่วนสถานะทางการเงินส่วนใหญ่ไม่ประสบกับปัญหาหนี้สินแต่หลังจากการเกิดโรคระบาดพนักงานทุกคนต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด และในภาพรวมของครอบครัวของพนักงานมีความสุขดีทั้งก่อนและหลังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา


2.การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา มี 5 กระบวนการ ได้แก่ (1) การจัดการวางแผนอัตรากำลังคน เช่น การสรรหา การคัดเลือก และการจ่ายงาน (2) กระบวนการการเรียนรู้และการพัฒนา โดยการจัดการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติงาน (3) การจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์โดยการจัดการความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานผ่านการให้สวัสดิการที่ดีเช่น กิจกรรมปีใหม่ เงินโบนัสประจำปี Service Charge (4) การบริหารผลการปฏิบัติงาน โดยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นโรงแรมไม่มีการประเมิน และ (5) การจัดการการพัฒนาองค์กร โดยยังคงให้การดูแลพนักงานอย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานยังคงมุ่งมั่นและทุ่มเทการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonprasob, N. (2016). A NEW DIMENSION OF TOURISM: SINGLE LADY TRAVELERS. SOUTHEAST BANGKOK JOURNAL, 2(2), 124–132.

Department of Mental Health. (2021). The Department of Mental Health advises Thai society to develop the mind with "discipline-healthy habits" to prevent the threat of COVID-19. Retrieved July 22nd 2022. From www.dmh.go.th/covid19/news2/view.asp?id=32.

Duangkhamsawat, N. (2021). Job satisfaction study of employee in hospitality industry at hotel rating-star 4 or more in Bangkok involve with organization management before and during Covid-19 pandemic. Thesis, Master of Management, Faculty of Management Science. Mahidol University.

Joungtrakul, J. (2020). Human Resource Development: Theory and Practices. Bangkok: C – Education.

Kitinorarat, J. et al. (2018). Monitoring, evaluating and furthering the commercial usage of tourism and hospitality industry research projects in 2016. Phranakhon Rajabhat Research Journal Humanities and Social Sciences. 6(2), 1 – 17.

Lertvittayatan, T. (2021). Factors influencing to persistence of hotel staff in Bangkok affected by Covid-19 situation. Thesis, Master of Business Administration, Business Administration Management, Faculty of Business Administration for Society, Srinakharinwirot University.

Meeplang, K. (2005). Perception of organizational climate affecting quality of work life of employees, CAT Telecom Public Company Limited, head office. Thesis, Master of Business Administration, St. John's University.

Ministry of Tourism and Sports. (2020). Quarterly Tourism Economic Report No. 4. Retrieved July 22nd 2022. From https://www.mots.go.th/news/category/609.

Pitiwan, BH. (2021). Guidelines for the development of human capital in the international hotel chain business after the epidemic of the Covid-19 virus. Thesis, Master of Arts degree. Tourism Management, Hotel and Event Management. Graduate school. Silpakorn University.

Suwannasub, Ch. (2021). To study the relationship between factors of quality of working life and engagement of employees of private bank head offices in Bangkok During the coronavirus disease 2019 (COVID-19) epidemic situation. Thesis, Master of Management, Faculty of Management Science. Mahidol University.

Yukerd, Ph. (2001). Quality of working life and quality of life of hotel staff in Bangkok Under the COVID-19 Situation. Journal of Arts and Service Industries, 4(2), 410 - 426.