การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE MODEL

Main Article Content

พิงพร ศรีแก้ว
กรนิษฐ์ ชายป่า
ศิวพร จติกุล

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาพุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาจีนสาขาพุทธศาสตร์ ที่เรียนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา และได้ลงทะเบียนเรียน วิชาหลักภาษาไทยเบื้องต้น ปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 13 รูป / คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงและการสอนแบบออนไลน์ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 หน่วย วิธีการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง นำมา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล แบบทดสอบเป็นแบบปรนัยเลือกตอบและอัตนัย วิเคราะห์ความเชื่อมั่น
ของแบบทดสอบจากการหาค่า IOC โดยผู้เชี่ยวชาญ หาค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตรวจสอบประสิทธิภาพการสอน บันทึกผล แบบสอบถาม แบบประเมินความพึงพอใจ นำมาหาค่าเฉลี่ย X และ S.D. การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ค่าสถิติโดยการแจกแจงความถี่


ผลการวิจัย 


1.เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยสาหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model พบว่ารูปแบบการสอนภาษาไทยที่สร้างและพัฒนา มี 6 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เรื่องน่าสนใจ (กฎแห่งความพร้อม) ขั้นตอนที่ 2 อ่านเข้าใจเนื้อเรื่อง (กฎแห่งความพร้อม) ขั้นตอนที่ 3 คุยเฟื่องเรื่องย้อนกลับ (กฎแห่งความพอใจ) ขั้นตอนที่ 4 จับหลักเกณฑ์ทางภาษา(กฎแห่งความพอใจ และกฏแห่งการฝึกหัด) ขั้นตอนที่ 5 หรรษาการเขียน (กฎแห่งการฝึกหัด) ขั้นตอนที่ 6 ทดสอบบทเรียน (กฎแห่งความพอใจ)ที่ได้เรียนมาเป็นการวัดผลประเมินผลองค์ความรู้ของผู้เรียน และประเมินผลการสอนของนิสิต


2.เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ โดย ADDIE model พบว่ารูปแบบวิธีการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 53.58 /95.35 มีประสิทธิภาพสูงตามเกณฑ์ มาตรฐานที่กำหนด 80 / 80


3.เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาพุทธศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยาที่มีต่อรูปแบบการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติโดย ADDIE model พบว่า ระดับความพึงพอใจ อยู่ในระดับ พอใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buranasinwattanakul, K. (1973). Thai teaching strategies for communication for learners of Thai as a foreign language. Liberal Arts Journal, Vol. 18 (No. 2 July-December 2018),164-178.

Jittaprasart, S. (1991). Teaching background music. Bangkok : Odeon Store.learning process management. (print No. 7 ). Bangkok: Chulalongkorn University.

Khamput, C. (2002). A Study of Thai Language Use of 4th Year Chinese Students

Majoring in Thai Language, National Institute of Peoples.Yunnan, People's Republic of China .(Master of Science Thesis, Department of Teaching Thai Language). graduate school Chiang Mai University.

Kewkwaew, S. & Saree, U. (1998). Theories and techniques of behavior modification. Songkhla : Prince of Songkla University.

Phra Maha Chiraphat Chiraboonchot , (2012) Development of learning styles of culture for life for students Bachelor's degree. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Phuangpae, P & Sirisamphan, O. (2015) . Teaching and Learning Model

Development to promote Competencies in the design of social studies learning activities for teacher-professional students. Thai edition journal Humanities, Social Sciences and Arts, Vol. 8 (No. 1 January – April 2015). 430-447.

Prakobpol, S. (2020). Design and Development of Computer-Assisted Instruction Using Addy. Model and Concept of Gaye. Journal of

Education : Journal of Educational Studies Vol. 14 (No.1 January - June 2020) . 17-30.

Sonam, N. (2007). Teaching Principles. Bangkok: Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat Institute.

Sathiansukon, S. (1981). Teaching Thai to Chinese Students: Conditions, Problems

and Approaches. Edit. Journal of Humanities Vol. 18 (No. 1 2551). 127-140.

Thanya, N. & Jaturanon, W. (2008) Development Electronic Lessons Online Science science by using learning activities based on the concept of high / scope For students in the third grade, Benchamarajalai Nai School His Majesty the King (Doctor of Philosophy curriculum and teaching). Faculty of Education Burapha University.

Thongpanich, P. (2019). Learning Management and Classroom Management: ADDIE

Teaching Model (ADDIE Model). Retrieved June 1, 2019, from

http://adi2learn.blogspot.com/ 2018/ 01/addie-model.html.