การสร้างรายได้แบบมีส่วนร่วมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชาว ตำบลแม่จัน: การทำปุ๋ยมูลไส้เดือนผลิตภัณฑ์ตามนโยบาย U2T

Main Article Content

รักษ์ศรี เกียรติบุตร
วีระ เลิศสมพร
ถิรายุส์ บำบัด

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลการดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เชื่อมโยงกับนโยบายการลดปัญหาความยากจนอย่างมีเป้าหมายชัดเจน (Targeted Poverty Alleviation) ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน และส่งเสริมความเป็นอยู่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCGในระดับพื้นที่ โดยการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษาไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการ  เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานของบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ ผลพลอยได้คือการพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ  ตัวอย่างที่ศึกษานี้คือกลุ่มผู้รับจ้างงานจำนวน 9 คน ในตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ที่ได้เสนอการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนสูตรใหม่ “ปุ๋ยจันพลัส” ภายใต้โครงการ U2T for BCG โดยมีคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาเป็นหน่วยงานพี่เลี้ยง ผลผลิตใช้วัสดุธรรมชาติ หาง่าย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปต่อยอดทางการค้า มีการทำสื่อโฆษณาและคลิปวิดีโอเสนอผ่านมัลติมีเดีย รวมทั้งวางขายในตลาดชุมชนถนนคนเดินของตำบลแม่จัน คำนวณรายได้เพิ่มจากการขายคิดเป็น ร้อยละ 31.42 แม้ยังไม่เป็นที่รู้จักของเกษตรกรทั่วไปนักและพบปัญหาความชื้นจากสภาพอากาศที่มีฝนชุก แต่หากชุมชนมีวิถีชีวิตแบบพออยู่พอกินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงก็สามารถตอบรับและให้ความร่วมมือในการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนสูตรใหม่ได้เป็นอย่างดี ข้อสรุปจากบทความนี้ผู้เขียนต้องการเน้นให้เห็นว่าการนำนโยบายของรัฐไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จด้วยดีหากมีการส่วนร่วมของชุมชนที่มีความพอเพียง สามารถนำเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนอื่นได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Ban Sam Reun Community. Agro-Tourism Development and Promotion Project. Retrieved September 15, 2022, from https://hs.pbru.ac.th/bansamrean/Datainformation.html .

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Community Development Department, Ministry of Interior. (2019). Sufficiency economy village development to create happiness for the community, Retrieved September 16, 2022, from https://nakhonphanom.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/21/2020/08/Sufficiency economy village development to create happiness for the community.pdf.

Choochat, C. (2022). Sufficiency Economy Philosophy, Teaching Materiel for TSE 1101. Retrieved September 15, 2022, from

http://www.philosophy.cmru.ac.th/main/assets/files/document/20181022111907_doc.pdf.

Kiattibutra, R. (2017). Effectiveness of Implementation of Government Educational Policy in Civic Duties in Secondary Schools, Phayao Province. Proceedings of the 6th PSU Education Conference «Higher Education for Digital Citizenship Towards Thailand 4.0» (pp. 220-227). 20 December 2017. Prince of Songkla University.

Kiattibutra, R. (2019). The Development of No-Burning Behavior in Risk Area of Mae Ka, Phayao Province. Nakhon Lampang Buddhist’s Journal, 8(3), (September–December 2019). 96-109.

Mae Chan Subdistrict Municipal Office. (2022). Annual report of basic information and statistics. Retrieved August 25, 2022, from https://www.maechan.go.th/news.php?type=1

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Science, Research and Innovation (TSU). (2022). U2T for BCG, Document distributed in the Opening Ceremony, 16 June 2022.

Thai Meteorological Department (2022). 7-day Weather Forcast by Region. Retrieved September 15, 2022, from https://www.ryt9.com/s/tmd/3356589

Thairath Online. (2020). Covid changed the world, Human behaviour, 8 million Thai people prepare to lose their jobs, business is tumultuous.. 1 May 2020. Retrieved September 1, 2022, from https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1816638