การสร้างเครือข่าย กลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่

Main Article Content

ชลธิชา จิรภัคพงค์
พระครูปริยัติวรากร
พระศักดิธัช แสงธง
สมจิต ขอนวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมการสร้างเครือข่าย กลไกการตลาด สร้างเครือข่าย กลไกการตลาด และขับเคลื่อนเครือข่าย กลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของชุมชนสัมมาชีพ ในจังหวัดแพร่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ไม้สัก ผลิตภัณฑ์จักสาน ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม ผู้นำชุมชนผลิตภัณฑ์ไม้สัก ผลิตภัณฑ์ไม้สัก ผลิตภัณฑ์จักสาน ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม องค์กรภาครัฐ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำชำ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสูงเม่น สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม กิจกรรมการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และการจัดประชุมสัมมนาทางวิชา การวิเคราะห์ข้อมูลโดย
การวิเคราะห์เนื้อหาพิจารณาประเด็นหลักและแบ่งออกเป็นประเด็นย่อย


ผลการวิจัยพบว่า


1. กระบวนการมีส่วนร่วมการสร้างเครือข่าย กลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของชุมชนสัมมาชีพ ในจังหวัดแพร่ พบว่า มีส่วนร่วมทั้งกลุ่มภายในชุมชน และภายนอกชุมชน ประกอบด้วย เครือข่ายการผลิต เครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่ายการตลาด เครือข่ายองค์กรภาครัฐ โดยที่กลุ่มชุมชนสัมมาชีพควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการผลิต แผนการออกแบบผลิตภัณฑ์และช่องทางการจำหน่าย ดำเนินการด้านการตลาด องค์กรภาครัฐมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ การเป็นผู้สนับสนุน การเป็นผู้ส่งเสริม และการผู้ประสานงาน


2. การสร้างเครือข่าย กลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของชุมชนสัมมาชีพ ในจังหวัดแพร่ พบว่า การสร้างเครือข่าย เป็นการทำงานร่วมกันของกลุ่มคนหรือองค์กรที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม และมีเป้าหมายหรือมีวัตถุประสงค์ร่วมกันเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร การตกลงที่จะทำงานร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน


3. การขับเคลื่อนเครือข่าย กลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของชุมชนสัมมาชีพ ในจังหวัดแพร่ พบว่า จากการทำกิจกรรมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ภาคีเครือข่ายทั้ง 5 เครือข่าย จึงได้ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนสัมมาชีพด้านการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนากิจกรรมเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่าย ให้มีกระบวนการสร้างสรรค์ที่เหมาะสม โดยเน้นความรู้ กระบวนการ และผลลัพธ์ของการดำเนินการอันจะนำไปสู่การเสริมสร้างชุมขนสัมมาชีพให้มีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน


4. องค์ความรู้การสร้างเครือข่าย กลไกการตลาดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของชุมชนสัมมาชีพในจังหวัดแพร่ พบว่า กลุ่มสัมมาชีพมีบทบาทหน้าที่ในการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ด้วยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลาย การพัฒนาการเรียนรู้และการพัฒนากิจกรรมกลุ่ม การพัฒนาการตลาดขยายช่องทางการตลาด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำในการส่งเสริมศักยภาพของผู้นำชุมชน องค์กรชุมชน เป็นผู้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในอาชีพ เป็นผู้ประสานงานรวมกับหน่วยงานอื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charoenwongsak, K. (2000). Network Management : Key Strategies for the Success of Education Reform. Bangkok : Success Media.

Jensantikul, N. (2019). The Development of Community Enterprise in Lower Central Provinces Region 1 to Enhance its Competitiveness in the ASEAN Community. Political Science and Public Administration Journal, 10(1) : 110 - 112.

Lalaeng, C., Chaiphet, C. และ Uea-aree, W. (2018). Business Networking Development and Competitive Advantage of Community Enterprise in Chumphon Province. Veridian E-Journal Silpakorn University Humanities Social Sciences and arts,

(2), 3447 – 3464.

Nirathon, N. (2000). The Development of Working Networks : Some considerations, Bangkok: Thammasat University.

Office of the National Economics and Social Development Council. (2016). Economic and Social Development Plan National, Twelfth Edition, B.E. 2017 - 2021. Bangkok : Office of the Prime Minister.

Aphakaro, S. Network : Nature, Knowledge and Management. (2004). Bangkok : Project to enhance learning for a happy community.

Predaporn, P. and Laurittirat, S. (2018). Developing Effective Business Networking : Case Studies of Foreign Networks of Apparel and Clothing Business. CRMA Journal of Humanities and Social Sciences, 5, 95 – 130.

Ponsri, S. (2007). Learning network in community development, Bangkok : O.S. Printing.

Rompaen, S., Lamaisri, S. and Phalaphon, C. (2018). Developmental Approach and Promote Community Enterprise District Lum Lam Chi Amphoe Ban Khwao Chaiyaphum Province, Dhammathas Academic Journal, 18(3) : 46.