การเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

Main Article Content

พระครูโสภณกิตติบัณฑิต
คุณญา แก้วทันคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศึกษาจิตอาสาในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลกาญจนา 2) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลกาญจนา และ 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลกาญจนา จำนวน 368 คน  ได้จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ โดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือสถิติพื้นฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำปกครองท้องที่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พระสงฆ์ และกลุ่มประชาชนจิตอาสา จำนวน 15 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ


            ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความรู้และทัศคติด้านจิตอาสา อยู่ในระดับอยู่มากทุกด้าน ซึ่งแสดงถึงองค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนาได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในด้านจิตอาสาในการพัฒนาพื้นที่ชุมชน ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อเจตคติและผลลัพธ์ของการเสริมสร้างจิตอาสาและความพึงพอใจในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลกาญจนา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับอยู่มากทุกด้านเช่นกันซึ่งแสดงให้เห็นถึงประชาชนในชุมชนได้มีเจตคติที่ดีและเห็นความสำคัญของจิตอาสาในการพัฒนาพื้นที่ชุมชน 2. การเสริมสร้างจิตอาสาวิถีพุทธแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลกาญจนา ประชาชนได้รับการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทั้งด้านจิตอาสาวิถีพุทธ รูปแบบ กระบวนการ การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม การส่งเสริมการเรียนรู้ และแนวทางการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือจิตอาสาวิถีพุทธ 3. กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลกาญจนา ได้นำเอาหลักพุทธธรรมมาบูรณาการกับงานด้านจิตอาสา ส่วนกระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธแบบมีส่วนร่วมในการพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตำบลกาญจนา มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1.สำรวจและจัดทำฐานข้อมูล 2.ทำความเข้าใจร่วมกัน 3.จัดระบบสารสนเทศ4.สังเคราะห์องค์ความรู้และถอดองค์ความรู้ของเครือข่าย 5.ติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่าย และ 6.ส่งเสริมให้ภาครัฐมีนโยบายในการเสริมสร้างเครือข่ายจิตอาสาวิถีพุทธ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Annual Performance Report 2020. (2022). Retrieved January 22, 2022, from https://www.kanjana.go.th/home.

Chaipiriyakul, A. & Charoenporn, C. (2021). “Knowledge Management Approaches, Model Volunteer Leadership, Case Study Umong Municipality Mueang Lamphun District Lamphun Province” (Research Report). Western University Research, Journal Humanities and Social Sciences.

Luengwilai, W., Kanjanakunchorn, S. & Wongpinpetch, P. (2021). “Volunteerism development in the context of Thailand”. Panyapiwat Journal, 13(1), 336-350.

Maithong, O., Phra Sutheerattanabandit & Phrathep Watcharachan (2021). “Process of Volunteerism and Social Responsibility of International Youth”. Journal of Graduate Studies Review,17(3),1-18.

Phrae Provincial Office Strategy and information for provincial development (2022). Phrae Provincial Development Plan 2018-2022. Retrieved January 20 2022, from http://phrae.go.th/file_strategic/61-65plan 64-1.pdf.

Phrakru Kositwattananukul et al. (2020). Creating a Public Mind Network in a Multicultural Society and the Development of a Seamless Peace City (Research Report). Mahachulalongkornrajavidyalaya University Nakhon Si Thammarat Campus.

Phra Maha Sutthit Apakaro (2004). Knowledge and Management Nature Network. Bangkok: Duan Publishing House.

Phrae Provincial Administrative Organization (2022). 5-year district development plan (2018-2022). Muang Phrae District, Phrae Province. Retrieved January 20, 2022, from http://phrae.go.th/file_strategic/B5/maeng64.pdf.

Saisorn, S. (2015). “Integration of Buddhist Principles in Volunteer Work”. Buddhist Studies Journal Chulalongkorn University, 22(2), 18-47.