การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนแบบมีส่วนร่วม และเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยผสมผสานวิธี โดยมีทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร เชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ
ผลการวิจัยพบว่า
- รูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ คือ รูปแบบการผลิตข้าวกล้องของชุมชนตำบลกาญจนาเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำการเพาะปลูกข้าว ซึ่งถือเป็นวิถีดั้งเดิม แต่ยังขาดองค์ความรู้การทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว ซึ่งเดิมชาวบ้านทำการสีข้าว คัดข้าวเปลือกออกจากข้าวสารที่สีแล้วด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกกลุ่ม ในช่วงของหลังการเพาะปลูก ก็ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มเติมขึ้นจากเดิมพอประมาณ เพราะความรู้เกี่ยวกับการบรรจุ ชาวบ้านก็ทำตามความรู้ดั้งเดิมคือการใส่ถุงพลาสติก แล้วติดป้ายของโครงการ 9101 แล้วนำไปขายในตลาด ให้แก่ผู้ที่สนใจ
- การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนแบบมีส่วนร่วมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นควรมีรูปแบบที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ตำบลกาญจนามีพื้นที่ทำการเกษตรหรือ ท้องไร่ท้องนาที่มีภูเขาอยู่ด้านหลัง คือ ภูเขาภูผาด่านเปรียบเหมือนกำแพงธรรมชาติที่ปกป้องเมืองแพร่อยู่ด้านทางตะวันออกของจังหวัดแพร่ นอกจากนี้ยังมีเอกลักษณ์ในพื้นที่ก็คือ พื้นที่ในทางพระพุทธศาสนาคือ วัดดอนดี และยังมีตราสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม และที่อยู่เบอร์โทรของผู้รับผิดชอบ
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เริ่มจากการนำองค์ความรู้ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนแบบมีส่วนร่วมของตำบลกาญจนา มีการผสมผสานระหว่างของเดิมกับของใหม่ การออกแบบใหม่มีรูปแบบที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ตำบลกาญจนามีพื้นที่ทำการเกษตรหรือท้องไร่ท้องนาที่มีภูเขาอยู่ด้านหลัง มีเอกลักษณ์ในพื้นที่คือ วัดดอนดี ส่วนการออกแบบมีตราสัญลักษณ์ประจำกลุ่มจากโครงการ 9101 ตามรอยพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน และออกแบบโดยใส่ที่อยู่ เบอร์โทรของผู้รับผิดชอบอยู่ในรูปแบบของ QR Code
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chaliewsak, J., Kleebbua, C., Rungouthai, A. & Thioop, T. (2019). Design and Value-Added Local Product of Thailand: Traditional Isan Printed Pha Sin. Journal of Community Development and Life Quality, 7(3), 226-237.
Chumket, J. (2017). "Product Development from Local Wisdom to Enhance Sustainable Community Management Efficiency of Thai Muslim Community in Cha-Am District, Phetchaburi Province". Bangkok: Silpakorn University.
Kanchana Subdistrict Administrative Organization (2022). Annual Performance Report 2020, Retrieved January 22, 2022, from https://www.kanjana.go.th/home.
Kaewlay, P. & Chanchaemla, T. (2013). Creative City: Approach to Urban Development from Thai Local Creative Assets. Bangkok: Charansanitwong Printing Co., Ltd.
Khonwong, S. et al. (2017) “Phrae Textile Enterprise: Knowledge and Network Management for Sustainable Development”. (Research Report). Institute of Buddhist Sciences: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Muang Phrae District Office, (2022). 5-year district development plan (2018-2022), Muang Phrae District, Phrae Province. Retrieved January 20, 2022, http://phrae.go.th/file_strategic/B5/maeng64.pdf.
Narongwit, P. & Saengchanthai, A. (2019). Product Development of Phra Din Cultural Souvenirs for Nakhon Chum Amulet Making Learning Center, Kamphaeng Phet Province. Journal of Academic Arts Research and creative work. 6(1), 218-245.
Phrae Provincial Office Strategy and information for provincial development (2022). Phrae Province Development Plan 2018-2022, review edition 2021 (Volume 1). Retrieved January 20, 2022, from http://phrae.go.th/file_strategic/61-65plan64-1.pdf.