ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการระดับสาขาวิชาของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการระดับสาขาวิชา ของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดลำปาง เป็นวิจัยเชิงสำรวจ โดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัว คือ นักศึกษา และอาจารย์ โดยสุ่มอย่างแบบเจาะจง จำนวน 200 คน ใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และโมเดลเชิงสาเหตุแบบพหุ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารวิชาการของสาขาวิชาของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดลำปางมีประสิทธิผลในระดับสูง และตัวแปรนักศึกษา พบว่า มีความภาคภูมิใจในตนเองมากมีแรงจูงใจในการเรียนมาก มีพฤติกรรมการเรียนดีและใช้เวลาในการเรียนมาก และห้องเรียน มีบรรยากาศการเรียนการสอนดี ส่วนปัจจัยนักศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสมของนักศึกษามากที่สุด รองลงมา พฤติกรรมการเรียนและอายุ และปัจจัยห้องเรียน ค่าเฉลี่ยคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักศึกษารายห้องเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงเป็นลบจากตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ และตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ห้องเรียนที่มีอิทธิพลทางตรงต่อค่าเฉลี่ยคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักศึกษารายห้องเรียน และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์รายห้องเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงเป็นบวกจากแรงจูงใจในการทำงานของอาจารย์ และรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น ได้ค่าอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุระดับห้องเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์รายห้องเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงเป็นบวกจากแรงจูงใจในการทำงานของอาจารย์มากที่สุด ส่วนวุฒิการศึกษาของอาจารย์มีอิทธิพลทางตรงเป็นลบต่อค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์รายห้องเรียน และบรรยากาศการเรียนการสอนมีอิทธิพลทางอ้อมเป็นบวกต่อค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์มากที่สุด รองลงมา คือ อายุของอาจารย์ตัวแปรอื่นๆ นอกนั้น ไม่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.( pp.202-204).
Hoy, Wayne K. & Cecil G, Miskel. (2001). Educational Administration : Theory, Research and Practice. 6 th ed. Mc Graw – Hill International Edition 2001.
Ministry of Education. (2017). National Education Plan B.E. 2017 - 2031 with the direction of educational development of the Ministry of Education in various dimensions. Retrieved September 21, 2022, from https://www.ubu.ac.th/ web/files_up/80f2017031913062635.pdf.
Makate, S. (2021). Causal Factors Influencing the Effectiveness of Academic Administration of Secondary Schools in Central Area of Thailand. e-Journal of Education Studies. 3(2), 30-31.
National Education Act. (1999). National education. Retrieved September 21, 2022, from http://regu.tu.ac.th/quesdata/Data/L31.pdf.
National Statistical Office. (2020). The results of the survey of the working conditions of the population who graduated from higher education. Retrieved September 21, 2022, from https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13 /2563/Report_01-63.pdf.
National Economic & Social Development Agency. (2020). National Economic and Social Development Plan No. 12 (2017-2021). Retrieved September 21, 2022, from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
Office of the Higher Education Commission. (2009). National Qualifications Framework for Higher Education. Retrieved September 21, 2022, from https://drive. google.com/ file/d/1sNErvFCD2hKxEDp-6bymOMDI-J1IKSMh/view.
Prime Minister's Office. (2016). Draft national strategic framework for 20 years. Retrieved September 20, 2022, from https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/ 2018/08/file_32600e26a233b3fc9c88e48300c10334.pdf.
Rukponmongkol, P. (2016). Multi-Level Factors Influencing On The Academic Administrative Effetiveness of University Principals Rajabhat University in Thailand. Panyapiwat Journal. 8 (August), 172-185.
Srisaard, B., & Nilkaew, B. (1992). Population reference when using a scale tool. Estimate with a sample. Journal of Educational Measurement.
Srisuwan, N. (2019). The Causal of Factors Influening the Effectiveness of the Private Schools in Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University. 9(2), 25-32.
The free encyclopedia. (2022). Higher Education Institutions in Lampang Province. Retrieved September 20, 2022, from https://th.wikipedia.org/wiki.
Woolfolk, Anita E. (1993). Educational Psychology. Toronto : Allyn & Bacon.
Wiriyasookhatai, A. (2020). The Causal Multilevel Model Influencing small school effectiveness Office of the Basic Education Commission. Journal of Education, Mahasarakham University. 14(2), 269-280.