ขวัญและกำลังใจในการศึกษาของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19

Main Article Content

สิทธิพร เกษจ้อย
พระวรชัด ทะสา
พระมหาสัจจารักษ์ ไร่สงวน
ปนัดดา ศรีภา
วรารัตน์ อบปิ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2) เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการศึกษาของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสานในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 กลุ่มประชากรตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น จำนวน 124 คน คณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodologies) โดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์เนื้อหาจากบทสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า


  1. กลุ่มประชากรตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ จำนวน 124 คน ส่วนมากร้อยละ 71.80 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 28.20 เป็นเพศชาย ร้อยละ 32.30 มีอายุระหว่าง 20-25 ปี ร้อยละ 31.50ศึกษาในระดับการศึกษาชั้นปีที่ 1 มีระดับรายได้ของครอบครัวระหว่าง 5,000 -10,000 บาท/เดือน ร้อยละ 79.80

  2. ระดับขวัญและกำลังใจในการศึกษาของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านครอบครัว (x̄=3.94) ด้านการดำเนินชีวิตในการเรียน (x̄=3.70) และด้านการศึกษา (x̄=3.61)

  3. จากการศึกษาเรื่องขวัญและกำลังใจในการศึกษาของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 มีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ คือ 1. มหาวิทยาลัยควรจะจัดหาอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อการเรียนระบบออนไลน์สำหรับนักศึกษาที่มีอุปกรณ์ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่ยังไม่พร้อม 2. มหาวิทยาลัยควรจะมีการประชาสัมพันธ์กระบวนการเรียนการสอนให้กับครอบครัวของนักศึกษาได้เข้าใจถึงกระบวนการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 เพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีการเรียนการสอน เพราะส่วนมากครอบครัวจะเข้าใจว่า การเรียนออนไลน์ไม่ใช่การเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ajareewattana, W. & Potariya, P. ( 2021). Online Teaching And Learning During The COVID-19 Pandemic of M.B.A. Students.Master Degree of Business Administration. Ramkhamhaeng University.

Chareountham, J. (1998). Learning System for Thinking Process. Nonthaburi: Surat Printing.

HR NOTE.asia. ( 2019). The Importance of Education to Develop Human Resource. Retrieved September 14, 2021, From https://th.hrnote.asia.

Kongcheau, P. (2018). The Influenced Factors of Students, School and Family with The Success of 12th Grade Students Triamudomsuksanomklao Samutprakan. Research Report of Educational Administration, Faculty of Education, Burpha University.

Laosaku, T. (2019). Proper Behavior Modification of 1st Year Students Silapakorn University Sanam Chandra Palace. Research Report. Psychology and Guidance, Faculty of Education, Silapakorn University.

Mahamakut Buddhist University Isan Campus. ( 2021). Student Registration Information. Retrieved April 9, 2021, from http://www.mbuisc.ac.th.

Non-Formal Education Center. (2020). The Importance of Education. Retrieved July, 12, 2022, from http://www.clarissaforoaklandschools.com.

Yamane,T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row. Retrieved January 12,2021, from https://www.scirp.org/.