การพัฒนารูปแบบศักยภาพของหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี เพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล

Main Article Content

อิศเรศ อิศรางกูร ณ อยุธยา
สุภัททา ปิณฑะแพทย์
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบศักยภาพของหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล 2) สร้างและพัฒนารูปแบบศักยภาพของหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล 3) จัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและจัดสัมมนากลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิจัยเชิงปริมาณด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 300 ชุด โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยโปรแกรมทางสถิติ


ผลวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพของหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ องค์ประกอบย่อย คือ 1) ความเป็นผู้นำ 2) การประสานงาน และ 3) การประสานสัมพันธ์ องค์ประกอบหลักที่ 2 การบริหารสำนักงานรัฐมนตรี องค์ประกอบย่อย คือ 1) การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ และ 2) การบริหารจัดการองค์กร องค์ประกอบหลักที่ 3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในงาน องค์ประกอบย่อย คือ 1) การใช้เทคโนโลยี และ 2) ความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยี องค์ประกอบหลักที่ 4 การบริหารจัดการภาวะวิกฤต องค์ประกอบย่อย คือ 1) เตรียมความพร้อมในงาน 2) การประเมิน และควบคุมสถานการณ์วิกฤต และ 3) การบริหารความต่อเนื่องของทีมงาน องค์ประกอบหลักที่ 5 จรรยาบรรณการบริหารงาน องค์ประกอบย่อย คือ 1) ปกครองด้วยหลักธรรมา
ภิบาล และ 2) บริหารงานตามหลักประชาธิปไตย องค์ประกอบหลักที่ 6 การปฏิบัติภารกิจระดับสากล องค์ประกอบย่อย คือ 1) ทักษะด้านพิธีการ และ 2) ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ องค์ประกอบหลักที่ 7 กฎระเบียบการบริหารงาน องค์ประกอบย่อย คือ 1) องค์ความรู้กฎระเบียบ 2) โครงสร้างทรัพยากรข้อมูลภายในองค์กร และ 3) องค์ความรู้การบริหารงานภายใน คู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แนะนำคู่มือ ส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาศักยภาพของหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 2 หมวด คือ หมวดที่ 1 การจัดการองค์กร ประกอบด้วย การบริหารสำนักงานรัฐมนตรี จรรยาบรรณการบริหารงาน และกฎระเบียบการบริหารงาน และหมวดที่ 2 ความปราดเปรียวคล่องตัว ประกอบด้วย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในงาน การบริหารจัดการภาวะวิกฤต และการปฏิบัติภารกิจระดับสากล รูปแบบและคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีเพื่อคุณภาพการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเอกฉันท์ในด้านความเหมาะสมต่อการนำไปใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Almarzooqi, A. (2019). Towards an Artificial Intelligence (AI)-Driven Government in the United Arab Emirates (UAE): A Framework for Transforming and Augmenting Leadership Capabilities. Thesis and Dissertations Pepperdine University.

Boonmeesuwan, C., Aroonrasmeruang, S., Rattanavilai, R., & Pincharoen, S. (2017). Change Management towards Organization Development in Thailand 4.0. Business Review Journal. Huachiew Chalermprakiet University, 9(2), 155–172.

Boonmeesuwan, C. (2020). Innovation and Business Adjustment in Digital age. Business Review Journal. Huachiew Chalermprakiet University, 12(2), 236–246.

Chardchawarn, S. (2015). The Comparative Study of the Relationship between Politicians and Civil Servants in Thailand and International Countries: Recommendations for Thailand. King Prajadhipok's Institute Journal, 13(1), 72-97.

Charoensuk, A. (2017). Public Sector Management Quality Award (PMQA). Office of the Public Sector Development Commission (OPDC).

Chien, N. B., & Thanh, N. N. (2022). The Impact of Good Governance on the People’s Satisfaction with Public Administrative Services in Vietnam. Administrative Sciences, Hanoi University, 12(1), 34-35.

Ingpongpun, P. (2011). Strategic Management and Academic Affairs Performance of School Under the Provincial Administration Organization. Department of Educational Administration. Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Kraisuth, D. (2019). The Opinion of Senior Executives on Executive Secretaries Competencies at King Mongkut’s Institute of technology Lardkrabang. Journal of Council of University Administrative Staff of Thailand, 6(3), 75-82.

Onche, V. O., Adenoma, E. T., & Sabboh, G. M. (2021). Influence of Personal and Professional Attributes of Secretaries on Organizational Success of Universities in Oyo State: Nigeria. International Journal of Science Academic Research, 2(4), 1355-1359.

Onifade, A. (2017). The Indispensable Secretary. Moshood Abiola Polytechnic, Ogun State. Nigeria. Journal of Social Science, 22(1), 47-51.

Pongvipatyodhin, K. (2020). Good Governance and Public Value of Bangpu Subdistrict Municipality Officer: Samut Prakan Province. Master of Public Administration. Faculty of Liberal Arts. Krirk University. Bangkok.

Purwanto, P., Rusdiyanto, W., & Respati, Y. A. (2020). Analysis of Secretary Job Advertisement Content for Secretarial Skills Needs. Journal Economic, Universitas Negeri Yogyakarta. Indonesia, 16(1), 44-55.

Sareerat, C. (2019). Administration to the Excellence of the Primary Educational Service Area Offices. Department of Educational Administration. Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Sartsamai, S. (2015). Administrative in the Organization. Department of Social and Environmental Medicine. Faculty of Tropical Medicine. Mahidol University. Nakhon Pathom.

Therapanyo, S., & Koetwichai, N. (2019). Organization Development According to Good Governance in Thailand 4.0. Journal of MCU Humanities Review. Mahachulalongkorn-rajavidyalaya University, 5(1), 115-129.

Tumrongsuk, S., Wisuttipat, S., Boonyasopon, T., & Choopaka, M. (2022). Competency Development of International Airport Management Personnel for Aviation Industry Competition in the Digital Era. The Journal of KMUTNB, 33(1), 327-338.