การพัฒนารูปแบบการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย

Main Article Content

มนต์ณัฎ ขยันหา
สุภัททา ปิณฑะแพทย์
วรกมล วิเศษศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย (2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย และ (3) จัดทำคู่มือแนวทางการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยตามรูปแบบที่ได้จากการวิจัย โดยประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 14 คน  (2) กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 330 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมมนากลุ่มเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย และคู่มือแนวทางการบริหารการให้บริการในที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยจำนวน 10 คน และ (4) ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคู่มือแนวทางการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทางสถิติด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยัน.


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. องค์ประกอบย่อยของรูปแบบการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยประกอบด้วย (1) กลยุทธ์การตลาด (2) การบริหารองค์กร (3) สภาพแวดล้อม (4) กฎระเบียบองค์กร (5) ภาพลักษณ์องค์กร (6) เศรษฐกิจ (7) ผู้สนับสนุน (8) การลดการพึ่งพา (9) ความอิสระ (10) เครื่องอำนวยความสะดวก และ (11) กิจกรรมสันทนาการ

  2. รูปแบบการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยมี 3 องค์ประกอบหลัก คือ
    (1) องค์กร (2) ผู้สูงวัย และ (3) การเสริมมูลค่าเพิ่ม

  3. คู่มือแนวทางการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย

          ส่วนที่ 1 การแนะนำคู่มือ (1.1) หลักการและเหตุผลในการจัดทำคู่มือ (1.2) วัตถุประสงค์ในการจัดทำคู่มือ (1.3) การกำหนดเนื้อหาคู่มือ และ (1.4) ประโยชน์ของคู่มือ


ส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาการบริหารการให้บริการในธุรกิจที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย (1) องค์กร (1.1) กลยุทธ์การตลาด (1.2) การบริหารองค์กร (1.3) สภาพแวดล้อม (1.4) กฎระเบียบองค์กร (1.5) ภาพลักษณ์องค์กร และ (1.6) เศรษฐกิจ, (2) ผู้สูงวัย (2.1) ผู้สนับสนุน และ (2.2) การลดการพึ่งพา (2.3) ความอิสระ, และ (3) ผู้สนับสนุน (3.1) เครื่องอำนวยความสะดวก  และ (3.2) กิจกรรมสันทนาการ


โดยได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีความเป็นไปได้สูงมากในการนำไปใช้เป็นแนวทางการบริหารการให้บริการในที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chinkhaokham, D. (2021). Real Perceptions and Expectations of Health Care Services of the Elderly in Don Tako Subdistrict, Mueang District, Ratchaburi Province. Journal of King Mongkut's College of Nursing Ratchaburi Province, 4(1), 170-182.

Homhuan, B. (2021). Needs of the elderly and the readiness of institutions that serve the elderly. Journal of Buddhist Social Sciences and Humanities, 7(6), 83-97.

Intawee, T. & Kongbumphen. B. (2022). Factors Affecting to Decision Making for Elderly Care in Hua Hin, Prachuap Khiri Khan Province. Journal of the Faculty of Management Sciences, 27(4), 1-9.

Kantawong, P. & Kiatkunwong, N. (2019). Elderly care. Lessons from Kobe. (2nd ed.) Local government college: KhonKaen University.

Kasikorn Research Center (2018). Elderly care business in Thailand. Retrieved March 24, 2020, from https://www.kasikornbank.com/international- business/th/Thailand/IndustryBusiness/Documents/.201811_Thailand_Elderly_TH.pdf.

Nakarn, S. (1995). Strategic Services. Bangkok: Dok Ya Publishing House.

National Statistical Office. (2018). Survey of the elderly population in Thailand. Retrieved March 11,2018, from http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/ AnnualConference/ConferenceII/Article/Article02.htm.

Punya, F. (2020). Business Operation of the Successful Aged Persons: A Multi-Case Study Research. (Master’s Thesis) Naresuan University. Pitsanulok.

Pong-ubon, N. (1998). Opinions on retirement preparation of nursing staff at Siriraj Hospital. (Master’s Thesis). Mahidol University. Nakonphatom.

Ratchatawan, C. (2017). Factors influencing the decision to choose the service of a private elderly care facility in the Bangkok area.

( Master's Thesis). College of commerce Burapha University. Cholburi.

Sirivongphakorn, S. (2013). News Exposure Behavior Associated with Self-Reliant Ability of the Elderly in Bangkok. (Master’s Thesis) of , Raja Mangala University of Technology Phra Nakhon. Bangkok.

Sirijanusorn, A. & Kitworametee, C. (1919). Factors Affect Independent Senior Housing Purchasing in Bangkok. Journal of Academic Conference the Rattanakosin University of Technology. 4(1), 4-5.

Sitthikun, V. (2017). Factors associated with health promotion behaviors of the elderly in Banhong Subdistrict Municipality, Banhong District, Lamphun Province. (Master’sThesis) Chiang Mai Rajabhat University. Chiang Mai.

The Parliamentary Budget Office (2012). Academic Report Guidelines for Managing the Social Welfare Expense Budget for elderly care. Journal of The Parliamentary Budget Office, 5(2).12-30.

Thanosawan. B. (2017). Relationship Betaween Social Living Environment and Wellbeing of The Elderly: Personal Self. (Master’s Thesis) Chulalongkorn University.Bangkok

Wongnongtay, T. (2021). Factors and Attitudes Affecting Staying in Retirement Community. (Master’sThesis ) Mahidol University. Nakonphatom.

World Health Organization (‎1997)‎. The world health report: Conquering suffering, enriching humanity/report of the Director-General. Retrieved January 28, 2020, from https://apps.who.int/iris/handle/10665/41900.