การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงาน ในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ (2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ และ (3) จัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจงเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ตรงตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 22 คน (2) ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 427 คน (3) ผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่มย่อยเพื่อประเมินร่างรูปแบบการการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ และร่างคู่มือแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ จำนวน 14 คน และ (4) ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคู่มือแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ จำนวน 5 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการวิจัยพบว่า
1.รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ได้แก่
1.1) มิติที่ 1 ด้านผู้เกษียณอายุ มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. คุณลักษณะส่วนตน 2. มนุษยสัมพันธ์ และ 3.จรรยาบรรณ
1.2) มิติที่ 2 ด้านองค์กร มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การพิจารณาผู้เกษียณอายุงาน 2. การจัดวางตำแหน่งงาน 3. การพัฒนาศักยภาพ 4. การจัดการความรู้องค์กร 5. การบริหารสัญญา/ค่าตอบแทน และ 6. การจัดระบบงาน
2.คู่มือแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและบริการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 แนะนำคู่มือ และส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยฉันทามติคู่มือแนวทางได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีความเหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับผู้เกษียณอายุงานในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Akrangkul, P. (2020). Looking at The Future for Comprehensive Care for The Elderly (Research Report). Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Amsuk, R., & Sukonthaman, P. (2015). Elderly workers: situations and policies of Thailand (Research Report). Bangkok: Chulalongkorn University.
Asavanirandorn, C. et al. (2020). Thailand's Private Sector Employment Models for Elderly Project: Flexibility, Productivity and Protection (Research Report). Bangkok: Chulalongkorn University.
Department of Older Persons. (2022). Statistics of the Thai Elderly, 2022. Retrieved February 3, 2023, from https://www.dop.go.th/th/know/1/1962.
Kantawong Narot, P., & Kiatkunwong, N. (2019). Elderly care Lessons from Kobe. Konrad Adenaur Stiftung, Khon Kaen: Print took Khon Kaen.
Kasetauim, V. (2016). Desirable Labor Characteristics for Entrepreneurs in the Tourism and Service Industry Ubon Ratchathani Province (Research Report). Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University.
Krungsri. (2022). IMF World Economic Outlook. Retrieved February 6, 2023, from
https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/outlook-2022-2024>.
National Statistical Office. (2022). Summary of important results of the work of the elderly in Thailand 2021. Bangkok: National Statistical Office.
Pengroongruengwong, R. (2019). Thai Workers' Characteristics 4.0 According to the View of
Entrepreneurs in Nakhon Pathom Province (Research Report). Nakhon Pathom: Nakhon Pathom Rajabhat University.
Sadaengharn, P., Ing-art, A. & Thanadechawat, N. (2017). The development of employment patterns for the elderly in the hotel business in the eastern region (Research Report). Chonburi: Burapa University.
Siksamat, S. et al (2013). Thai labour market and its roles in strengthening the Thai economy. Bangkok: Bank of Thailand.
Srichareon, J. (2003). The factors related to organizational commitment: a case study of the Sai Mai District Office Bangkok (Research Report). Bangkok: Kasetsart University.
Soonthornchawakan, N. & Kulthanavit, P., (2013). Occupational Productivity Differences of Thai Old Aged Labors (Research Report). Bangkok: Thammasat University.