การจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดและชุมชน ในตำบลพระบาทตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

จีรศักดิ์ ปันลำ
กตัญญู เรือนตุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดและชุมชนในตำบลพระบาท  2) เพื่อศึกษาการสร้างธรรมนูญชุมชนเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ของวัดและชุมชนในตำบล และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอรูปแบบการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดและชุมชนในตำบลพระบาทตามแนวพระพุทธศาสนา  เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้นำครอบครัวในตำบลพระบาท จำนวน 262 คน กลุ่มเสวนา ได้แก่ พระภิกษุ และคฤหัสถ์ ผู้ทรงคุณวุฒิในตำบลพระบาท จำนวน 14 รูป/คน และกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ พระสังฆาธิการ และประธานชุมชน ในตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จำนวน 12 รูป/คน


ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดและชุมชน ได้แก่ การทะเลาะวิวาทและการประทุษร้ายกันในหมู่วัยรุ่น การหลอกลวงขายสินค้าโดยผู้ขายแสดงข้อความเท็จ การเล่นการพนันด้วยวิธีการโกงเพื่อชนะและรับเงิน, ปัญหายาเสพติดทำลายความสุขในบ้าน และคนเมาสุรา กระทำผิดศีลธรรมและกฎหมายในวัดและชุมชน ด้านการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้แก่ วัดและชุมชน ควรร่วมกันโดยรวมตัวกันจัดตั้งเป็นองค์กรป้องกันภัยในระดับชุมชน เพื่อสอดส่องป้องกันภัยให้แก่สมาชิกชุมชนอย่างต่อเนื่อง ครอบครัวควรสร้างบรรยากาศภายในบ้าน ให้ทุกคนในบ้านรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ด้านการสร้างธรรมนูญชุมชนเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ของวัดและชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชนควรใช้ความเสียสละเป็นฐานจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย และให้คนในชุมชนรู้จักปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ประชาชนควรพิจารณาอย่างรอบคอบในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและนอกบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกในการป้องกันการก่ออาชญากรรม  ดังนั้น รูปแบบการจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของวัดและชุมชนในตำบลพระบาทตามแนวพระพุทธศาสนา คือ ประชาชนควรใช้โยนิโสมนสิการเป็นฐานในการพิจารณาการรู้จักยั้งคิด ยับยั้งตนไม่ให้เกิดเภทภัย เรียนรู้อุปกรณ์เครื่องป้องกันการโจรกรรม และเรียนรู้
การเอาชนะใจตนเองที่จะไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทุกประเภท ด้านผู้นำชุมชนควรอุทิศตนสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chumsuwan, K. (2016). Study of Directions for Addressing Student Quarrel Problemsin a Private Vocational College. (Master’s Thesis). Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.

Ketprayoon, C. (2013). Methods for suppressing violence according to the concepts of Theravada Buddhism. (Research Report), Bangkok: Rajamangala University of Technology Rattanakosin.

Kelang Nakhon Municipality (2019). Area of Phra Bat Subdistrict. Retrieved May 3, 2022, from https://www.kelangnakorn.go.th/kelang/?p=196.

Phurahong, K. (2019). Factors Affecting Reuse of Drug Addicts in PathumThani Province. Journal of Public Health Nursing, 32(2), 23-40.

PhraSophon Sopano (Tongsom), PhrakruKosit wattananukuland & PhrakruWichit silajarn, (2020). An Application Of Four Bases Of Social Solidarity Into Strengthening Community Of Wat MaithungkhaRattabhumi District Songkhla Province. Journal of MCU Nakhondhat, 7(3), 15-25.

Sukka, W. et al. (2019). Cultural adaptation of Muslim students from the three southern border provinces in Songkhla Province: A Case Study of University Muslim Club Students Technology Rajamangala Srivijaya. (Research Report). Songkhla: Rajamangala University of Technology Srivijaya.

Suradanai, T. (2018). Controlling Crime from the School Environment To reduce the chances of being a victim of crime and awareness of personal safety: a case study of Chulalongkorn University, 2nd UTCC Academic National Conference and Academic Presentation (pp.1613- 1627). Bangkok :University of the Thai Chamber of Commerce.

Worakitkasemsakul, S. (2011). Methods of research in behavioral and sciences. UdonThani: UdonThaniRajabhat University.