เส้นทางการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดทางอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

อลินพิชา นพทวีวัฒน์
โสรัตน์ กลับวิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการเข้าสู่เส้นทางการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและความผิดทางอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดและเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกัน โดยการศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ต้องขังเรือนจำกลาง จ.นครปฐม และครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง รวมทั้งสิ้น 16 คน ผลการวิจัย  ที่สำคัญคือรูปแบบเส้นทางชีวิตของกรณีศึกษามีรูปแบบที่คล้ายกันเริ่มต้นจากสภาพครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์  พ่อแม่มีการหย่าร้างหรือพ่อแม่มีพฤติกรรมเสพและขายยาเสพติด อยู่อาศัยในชุมชนที่เต็มไปด้วยยาเสพติด การโดนจับครั้งแรกและถูกลงโทษไม่สามารถทำให้กรณีศึกษาเข็ดหลาบจากการลงโทษได้ มีการกลับมา กระทำผิดซ้ำอีก มีปัญหาเรื่องเงิน ขาดโอกาสทางการศึกษา สาเหตุที่ตัดสินใจกระทำความผิดคือผู้ต้องขังที่เสพยาเสพติดเป็นกลุ่มที่มีปัญหายุ่งเหยิงในชีวิต ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดส่วนใหญ่คือการถูกชักชวน ปัญหานี้มักจะเกิดกับเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัวขาดความอบอุ่นใจแต่เอาเพื่อนเป็นที่พึ่ง ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังมีการรับรู้เกี่ยวกับโทษมาก่อนรับรู้และเข้าใจว่าผิดกฎหมายแต่ยังตั้งใจทำเพื่อผลประโยชน์ในหลายด้าน ปัจจุบันการกฎหมายอ่อน ไม่ปราบปรามจริงจัง และผลการศึกษาแนวทางการป้องกันคือต้องมีจิตใจเข้มแข็ง ต้องสร้างคุณค่าให้ตัวเอง รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์หรือทำงานที่สุจริต ควรมีมาตรการร่วมกันจากฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดและผู้สนับสนุนควรร่วมกันในการวางแผนปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ กวาดล้างปราบปรามแหล่งมั่วสุมอย่างจริงจัง สถาบันครอบครัวต้องมีความเข้าใจกัน ควรบัญญัติบทลงโทษผู้กระทำผิดตามลักษณะดังกล่าวให้หนักกว่าฐานความผิดเดิมใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Connoly, E. (2017). A Behavioral Genetic Analysis of the Co-occurrence Between Psychopathic Personality Traits and Criminal Behavior. Journal of Contemporary Criminal Justice, 35(1), 52–68.

Khantee, P. (2015). Criminological Theory: Principle, Research and Policy Implication. (5th ed.). Bangkok: S.Charoen Publisher.

Khruakham, S. (2015). Crime, Criminology and Criminal Justice Work. (3rd ed.). Bangkok: Phetkasem Printing.

Konpang, P. (2017). Factors related to social engagement and self-regulation that affect repeat offenders on drug offenses of female inmates at the Central Women's Correctional Institution. Journal Integrated Social Science, 4(1), 25-44.

Maneenark, S. (2019). The relationship between drug crime and crime related wealth. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Mankong, W. (2019). Social and psychological characteristics of probationers: a case study Probation in Phra Khanong Provincial Court. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.

Pongdham, C. (2019). Factors that correlate with property offense behavior. (Master’s Thesis). National Institute of

Development Administration. Bangkok.

Supakham, J. (2016). Factors affecting the offense related to methamphetamine drug offenses of dealers who He is a prisoner in District 5 in Thailand, Academic Journals Bangkok Thonburi University, 5(1), 1-10.

Thienthuma,S. (2015). Issues resulting in child property offenses in judicial institutions: Child and Youth Case Studies The first center accepts children and young men for mercy. (Master’s Thesis). Rangsit University. Pathumtani.