แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานจราจรเป็นสายงานของตำรวจที่มักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมเป็นประจำ เนื่องจากเป็นงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประวันของประชาชน ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร โดยเป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประชาชน จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 2) ประชาชนที่มีรายได้ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสถานีตำรวจนครบาลท่าข้ามแตกต่างกัน 3) แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร นครบาลท่าข้าม ประกอบด้วย 3.1) ด้านฝึกอบรม ควรอบรมเชิงวิชาการให้แก่เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย 3.2) ด้านการบริการ ควรมีส่วนร่วมกับประชาชนในการแก้ปัญหาจราจร การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ และการทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ 3.3) ด้านสวัสดิการ ในด้านสวัสดิการไม่ควรมุ่งเน้นในเรื่องของส่วนแบ่งเงินรางวัล จากเงินค่าปรับ ข้อเสนอแนะควรให้สวัสดิการผู้ปฏิบัติงานจราจรมีเงินประจำตำแหน่งที่แน่นอน 3.4) ด้านการบริหาร ควรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยในการทำงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Amy E. Nivette. (2017). Determinants of satisfaction with police in a developing country: a randomised vignette study. (Online) Review from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/10439463.2017.1380643.
Kasemmongkol, P. (2017). Public satisfaction with the services of the traffic police. (Master’s Thesis). Krirk University. Bangkok.
Khruakham, S. (2015). Crime, Criminology and Criminal Justice Work. (3rd ed.). Bangkok: Phetkasem Printing.
Khumsap, S. (2020). Traffic Law Enforcement in Bangkok. (10th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
Leaunsukhan, W. (2019). Morale in the performance of the Border Patrol Police and Police Border Patrol Police Division 13. (Master’s Thesis). Kasetsart University. Bangkok.
Metropolitan Police Division. (2021). Statistics of people in each area of responsibility. Bangkok: Metropolitan Police Division 9.
Rakdham, A. (2017). Organizational Management Behavior. (1st ed.). Bangkok: Thammasat University.
Ratchathorn, P. (2018). Study the law enforcement structure of Traffic police to prevent and solve problems Traffic accidents. (5th ed.). Bangkok: Thai Health Promotion Foundation National Health Foundation (NHSO).
Serirat, S. (2018). Strategic Management. (7th ed.). Bangkok: Development Studies.
Sirimool, W. (2015). People's satisfaction with the service provided by the police officers at Cha-am Beach Public Service Unit Cha-am District Phetchaburi Province. (1st ed.). Bangkok: Theerapom Literature.
Wonganuttaroj, P. (2020). Psychology of Personnel Management. (1st ed.). Bangkok: Bangkok Auxiliary Media Center.