ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ยุภาพรรณ หีตอักษร
สุปราณี ธรรมพิทักษ์
อนุรัตน์ อนันทนาธร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี  จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  3 ตำบล จำนวน ทั้งสิ้น 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.92  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กรณีพบความแตกต่างใช้วิธีทดสอบรายคู่เวยวิธีของเชฟเฟ่ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวมประชาชนมีความคิดเห็นต่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ทะเลอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานีทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับดี (= 3.94) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการให้ความรู้ และด้านการใช้กฎหมาย ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดี (= 3.95)  รองลงมาเป็นด้านการเฝ้าระวังและฟื้นฟู  (= 3.94) และสุดท้ายคือ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร (= 3.93) ผลการ เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลอ่าวบ้านดอน จังหวัด สุราษฎร์ธานีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดการทรัพยากร ชายฝั่งทะเลอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Civil Registration, Tha Chang District, Surat Thani Province. (2022). Information on the Number of People in the Area. Surat Thani: Civil Registration Tha Chang District.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row Ltd.

Jirachaisri, O., & Polpuk, S. (2018). Administration of Mangrove Areas of the Department of Marine and CoastalAccording to the Sufficiency Economy Philosophy. Eau Heritage Journal Social Science and Humanities. 8(1), 70-80.

Kanitthanupong, W. (2013). Coastal Resource Management by Community: a Case Study of Coastal Communities in Bohin Subdistrict, Sikao District, Trang Province. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Phetchaburi.

Khongyang, N., Tongkachok, K., & Pronying, J. (2023). Innovation in Sustainable Traditional Fishery Management. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8(1), 90-107.

Pansavee, P. (2021). Success Factors in Marine and Coastal Resource Management : Case study, Panare Fisheries Association, Panare District, Pattani Province. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Sri-in, S., & Wongjumpa, N. (2020). The Household Socio-Economic and Communities Coastal ResourceManagement Guideline at Mu Koh Ra - Koh Phra Thong Area. Journal of Humanities and Social Sciences, 12(2), 129-157.

Srimahawaro, W. (2021). The Management of Coastal and Marine Resources for Sustainable Community Engagement on Coastal and Marine Resources : A Case Study of Marine Rangers Network of Thaphikul Village, Thachang Sub - District,Thachang District, SuratthaniProvice, Thailand. School of Administrative Studies Academic Journal. 4(3), 81-95.

Suanthong, P., & Thinbangtieo, O. (2019). The Political Ecology of the Coastal Resources Management in Bandon Bay, Surat Thani Province. Burapha Journal of Political Economy. 7(2), 101-130.

Tonglamed, N., ea al. (2013). Coastal Resources Management Guidelines Project for Sustainable Ban Than Nam Ron, Khao Than Sub-district, Tha Chang District, Surat Thani Province. (Master’s Thesis). Bangkok. Thailand Science Research and Innovation.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row Ltd.