อัตลักษณ์ด้านประเพณีที่สำคัญของเมืองพะเยา

Main Article Content

พระครูวรวรรณวิฑูรย์
พงษ์ประภากรณ์ สุระรินทร์
สุเทพ สารบรรณ
ชูชาติ สุทธะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลอัตลักษณ์ด้านประเพณีที่สำคัญของเมืองพะเยา 2) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลอัตลักษณ์ด้านประเพณีที่สำคัญของเมืองพะเยา เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเพณีสำคัญต่าง ๆ ในจังหวัดพะเยาจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ รวมถึงการสัมภาษณ์บุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วยคำถามปลายปิด และคำถามปลายเปิด


กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 24 รูป/คน ประกอบด้วย พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่หน่วยงานวัฒนธรรมในจังหวัดพะเยา ประธานคณะกรรมการวัฒนธรรมในจังหวัดพะเยา พ่ออาจารย์วัด (มัคนายก) รวมถึงกลุ่มบุคคลอื่น ๆ เช่น ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น นักวิชาการวัฒนธรรม เยาวชนรุ่นใหม่ 9 อำเภอในจังหวัดพะเยา ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอจุน อำเภอภูซาง อำเภอภูกามยาว และอำเภอแม่ใจ


ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบททั่วไปของเมืองพะเยา พบว่า สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยาเป็นที่ราบสูงและภูเขา มีแหล่งน้ำธรรมที่สำคัญคือกว๊านพะเยา สภาพธรรมชาติ ประเพณีและวัฒนธรรมของเมืองพะเยาคือมรดกที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ ประเพณีและวัฒนธรรมเป็นผลงานของการสั่งสมสิ่งสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมที่ผู้คนเมืองพะเยาได้ปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่อง มีทั้งประเพณีประจำเดือน เทศกาล หรือที่ทำในชุมชนต่าง ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตแบบพุทธ ความเชื่อ ความศรัทธาในพระเจ้าตนหลวงพระคู่บ้านคู่เมืองพะเยา 2) บริบททางด้านประเพณีของเมืองพะเยา พบว่า เมืองพะเยามีประเพณีประจำเดือนไม่แตกต่างจากของล้านนามากนัก โดยมีประเพณีที่ปรากฏใน 12 เดือน คือ ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า ประเพณีงานปอยบวชปอยเป๊ก ประเพณีปอยข้าวสังฆ์ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแปดเป็งไหว้สาปูจาพระเจ้าตนหลวง ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ ประเพณีเข้าพรรษา ประเพณีสู่ขวัญควาย ประเพณีทานสลาก ประเพณีทำบุญทอดกฐิน ประเพณีตั้งธรรมหลวง และประเพณีเข้ากรรมรุกขมูล 3) อัตลักษณ์ด้านประเพณีที่สำคัญของเมืองพะเยา พบว่า ประเพณี 8 เป็ง ไหว้สาป๋ารมีพระเจ้าตนหลวง ประเพณีเวียนทียนกลางน้ำ และประเพณีสืบสานตำนานไทลื้อ เป็นประเพณีที่มีความสำคัญและเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันของชุมชนบวกกับพลังแห่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จนสร้างจุดเด่นเป็นอัตลักษณ์ทางด้านประเพณีของเมืองพะเยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiyanadon, G. (2008). Antiques and Artifacts in the Viang Pahyaw Museum (Wat Lee). Phayao: Nakhon Nuea Kan Phim.

Damrikun, S. (1999). Lanna Environment Society and Culture and a project involving the preservation of Thai cultural heritage by the Chamber of Commerce. Bangkok : Rung Arun Publishing Limited.

Payomyong, M. (2012). The Twelve-Month Traditions of the Million-Rice Fields of Thailand. Chiang Mai: S. Thap Kan Phim.

Promsan, P and Wongchum, S. (2018). Conservation and development of the old community of Phayao. Silpakorn University Journal, 38 (3): 105-126

Sutthitham, S. (1998). Local Documentaries of Thailand : Phayao. Bangkok: Ocean Store.

Vasi, P. (1994). Culture and Development. Bangkok : Kurusapa Printing.

Wivatnusit, P. (2017). The Identity of the Pugam Yao : Images, Beliefs, Wisdom. Journal Silpakorn University, 10(3), 880-886.

Wongthet, S. (1984). Muang Phayao. Kruthep: Matichon Publishing House.