รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ในภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธ ของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ในภาคเหนือ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสื่อสร้างเสริมสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนาของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในภาคเหนือ เพื่อพัฒนานวัตกรรมสุขภาวะวิถีพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม กับกลไกการทำงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลโดยผู้วิจัยได้ใช้รูปแบบคุณภาพ (Qualitative Research) เชิงปฏิบัติการ (Action Research โดยการบูรณาการแนวคิดทางพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่และภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาบทบาทของคณะสงฆ์ ในการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธของหน่วยบรมประชาชนประจำตำบล ผลการศึกษา พบว่า การขับเคลื่อนงานของหน่วยอบรมประจำตำบลภาคเหนือ สอดคล้องกับนโยบายคณะสงฆ์และพันธกิจที่สำคัญ 8 ประการคือ ศีลธรรมและวัฒนธรรม สุขภาพและอนามัย สัมมาชีพ สันติสุข ศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ กตัญญูกตเวทิตาธรรม สามัคคีธรรมโดยการบูรณาการกับโครงการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 และการแผนการปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ เป็นวิธีการนำเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างสุขภาวะให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน หลักธรรมสำคัญที่สามารถนำมาประยุกต์ได้ เช่น ไตรสิกขา ภาวนา 4 เป็นต้น ซึ่งการบูรณาการหลักธรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ จะเห็นได้ว่าการทำงานของหน่วย อ.ป.ต. ได้อาศัยการขับเคลื่อนงานที่ได้รับการสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาครัฐ ผลการดำเนินงานจึงสะท้อนให้เห็นถึงผู้มีส่วนได้เสียของการขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรม ได้แก่ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ผลการดำเนินงานจึงสะท้อนให้เห็นถึงผู้มีส่วนได้เสียของการขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรม การปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ การขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน สถาบันการศึกษา ภายใต้การนำเครื่องมือการทำงาน ได้แก่ การประชุม การวิเคราะห์ SWOT เทคนิค AIC สนทนากลุ่มย่อย สารสนเทศ ศูนย์การเรียนรู้ และการอบรมเชิงปฏิบัติการ ทำให้การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการครั้งประสบความสำเร็จ ซึ่งปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ ทุนทางสังคม การมีส่วนร่วม การสร้างแกนนำพระสงฆ์และชุมชน การสร้างเครือข่าย และกำกับติดตามปรับกลยุทธ์ที่ยึดหยุ่น และยังพบอุปสรรคในการทำงาน ได้แก่ ระยะเวลา การขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง สารสนเทศ ผลการดำเนินงานนำไปสู่การผลักดันนโยบาย ได้แก่ นโยบายการส่งเสริมหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล นโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการพัฒนาหน่วยอบรมประชาชนเพื่อประชารัฐ เพื่อการเสริมสร้างสุขภาวะเชิงพุทธอย่างยั่งยืนต่อไป
Article Details
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สาคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร. บริษัท ซัคเซสมีเดีย จากัด, 2543.
คณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา (คปพ.). รายงานสรุปการขับเคลื่อนแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา, 2561.
ฉลาด จันทรสมบัติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. วารสารการบริหารและพัฒนา. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2553.
ติน ปรัญพฤทธิ์. ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร. ไทยวัฒนาพานิช, 2538.
ถวิลวดี บุรีกุล. พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน : จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.กรุงเทพมหานคร. บริษัท เอ.พี. กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จากัด, 2552.
ประเวศ วะสี, สุขภาวะชุมชนเป็นรากฐานของสุขภาวะทั้งมวล, กรุงเทพมหานคร. บริษัท พ.เอ. ลีฟวิ่ง จากัด, 2554.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. กระบวนการและเทคนิคการทางานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร. สานักกองกลางการสนับสนุนการวิจัย, 2542.
พระครรชิต คุณวโร ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์ และ อรุณีวชิราพรทิพย์. “การพัฒนาแบบวัดสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2555.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). อ้างใน พระครรชิต คุณวโร ชูฤทธิ์ เต็งไตรสรณ์ และ อรุณีวชิราพรทิพย์, “การพัฒนาแบบวัดสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. ปีที่ 17 ฉบับเพิ่มเติม 6 (กันยายน – ตุลาคม 2551).
พระมหาบุญเลิศ ช่วยธานี. คู่มือขับเคลื่อนโครงการสังฆพัฒนาวิชชาลัย. กรุงเทพมหานคร. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2560.